6 สัญญาณเตือน! ลูกไม่มีสมาธิ ถ้าไม่แก้ตอนนี้ อาจส่งผลถึงอนาคต
Promom ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก

6 สัญญาณเตือน! ลูกไม่มีสมาธิ ถ้าไม่แก้ตอนนี้ อาจส่งผลถึงอนาคต

เรื่องราวดีๆจาก Promom สำหรับคุณแม่และลูกน้อย

Promom ความทุ่มเทของคุณหมอหัวใจแม่

สมาธิเป็นกุญแจสำคัญของพัฒนาการเด็ก แต่ในยุคที่มือถือ เกม และโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากลูกเริ่มไม่มีสมาธิบ่อย โฟกัสกับสิ่งใดไม่นาน หรือทำอะไรค่อยไม่สำเร็จ นี่อาจเป็นสัญญาณที่ต้องจัดการทันที ก่อนส่งผลกระทบต่ออนาคต!


1. ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้นาน

เด็กที่ไม่มีสมาธิมักโฟกัสกับสิ่งที่ทำได้ไม่นาน เปลี่ยนความสนใจไปมาบ่อย ฟังครูสอนได้แค่ช่วงสั้น ๆ หรือเล่นของเล่นไม่นานก็เปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่น พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ ทำให้พัฒนาทักษะได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น และอาจกระทบต่ออนาคตของลูกในระยะยาว

เด็กที่มีปัญหาเรื่องสมาธิมักแสดงพฤติกรรม ดังนี้

  • ระหว่างเรียน ฟังครูได้ไม่นาน เหม่อลอย หรือหันไปสนใจสิ่งรอบข้างบ่อย ๆ
  • ขณะทำการบ้าน เริ่มทำแต่ไม่สามารถทำให้เสร็จในครั้งเดียว หรือใช้เวลานานเพราะเสียสมาธิไปกับสิ่งอื่น
  • ระหว่างเล่น สนใจของเล่นชิ้นหนึ่งเพียงไม่กี่นาที แล้วเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่นทันทีโดยไม่เล่นต่อให้จบ

📌 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

  • การเรียนรู้ไม่ต่อเนื่อง เด็กที่ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อได้นาน มักจะเรียนรู้ได้ช้ากว่าเพื่อน และอาจพลาดเนื้อหาสำคัญ
  • เบื่อง่ายและขาดแรงจูงใจ เมื่อเด็กไม่สามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ อาจรู้สึกว่า ตัวเองทำอะไรไม่เก่ง และขาดความมั่นใจ
  • ส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่เสียสมาธิบ่อยอาจพบปัญหาในการเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน เพราะไม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ต้องใช้ความอดทนหรือการทำงานเป็นทีมได้

2. หลงลืมบ่อย ขาดการจัดการงานของตัวเอง

เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิมักจะหลงลืมบ่อย ขาดความเป็นระเบียบ และจัดลำดับความสำคัญของงานไม่ได้ สิ่งนี้อาจแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

  • ลืมทำการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าคุณครูหรือพ่อแม่จะบอกไว้ก่อนแล้วก็ตาม
  • หาของใช้ส่วนตัวไม่เจอ เช่น ลืมหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน หรือของเล่นที่เพิ่งวางไว้
  • จัดลำดับงานไม่เป็น ทำให้ไม่รู้ว่าควรเริ่มทำอะไรก่อนหลัง บางครั้งเริ่มต้นทำสิ่งหนึ่งแล้วเปลี่ยนไปทำอีกอย่างกลางคัน
  • ไม่สามารถทำกิจกรรมให้เสร็จสิ้นได้ เพราะขาดการวางแผนและสมาธิในการทำงาน

📌 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

  • กระทบการเรียน ลืมทำการบ้าน หรือพกอุปกรณ์เรียนไปโรงเรียน ทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้
  • ขาดความมั่นใจ เมื่อลูกมักลืมสิ่งสำคัญบ่อยครั้ง อาจรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรผิดพลาดเสมอ ส่งผลให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง
  • ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น การบริหารเวลาไม่ดี หรือไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองได้

3. หลุดโฟกัสง่ายเมื่อมีสิ่งเร้ารอบตัว

เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิมักเสียการจดจ่อได้ง่ายเมื่อมีสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียงพูดคุย โทรศัพท์มือถือ รายการโทรทัศน์ หรือแม้แต่สิ่งที่เคลื่อนไหวใกล้ ๆ ทำให้ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งที่ทำอยู่ได้นาน ปัญหานี้พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน และอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้ รวมถึงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความต่อเนื่อง

📌 พฤติกรรมที่พบได้ในเด็กที่เสียสมาธิง่ายจากสิ่งเร้า

  • ขณะเรียน หันไปสนใจเสียงรบกวนหรือสิ่งรอบตัวบ่อย ๆ ทำให้พลาดเนื้อหาสำคัญในชั้นเรียน
  • ขณะทำการบ้าน หยุดทำกลางคันเพราะถูกดึงความสนใจไปที่เสียงจากทีวี หรือโทรศัพท์มือถือของคนอื่น
  • ขณะเล่นหรือทำกิจกรรม ไม่สามารถเล่นของเล่นหรือทำงานฝีมือได้ต่อเนื่อง หากมีคนเดินผ่านหรือมีเสียงดัง

📌  ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

🔹 กระทบการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจบทเรียนได้น้อยลง เนื่องจากไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ครูกำลังสอนได้
🔹 เสียเวลาในการทำงาน เมื่อลูกไม่มีสมาธิบ่อย การทำการบ้านหรือทำงานบางอย่างอาจใช้เวลานานกว่าปกติ
🔹 ส่งผลต่อการทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กที่เสียสมาธิง่ายอาจไม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ต้องใช้การฟังและการมีส่วนร่วมเป็นเวลานาน


วิธีแก้ไขให้ลูกจดจ่อ ลูกไม่มีสมาธิ กับสิ่งที่ทำได้ดีขึ้น

✅ 1. สร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ลูกจดจ่อได้ดีขึ้น

  • จัดพื้นที่เรียนที่เงียบสงบ ห่างจากเสียงรบกวน ในห้องที่ไม่มีสิ่งของที่ดึงดูดความสนใจ เช่น ของเล่นหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทีวี หรือการสนทนาของผู้ใหญ่
  • ใช้หูฟังตัดเสียงรบกวน หรือเปิดเสียงดนตรีบรรเลงเบา ๆ เพื่อช่วยให้ลูกมีสมาธิ

✅ 2. ฝึก 5-4-3-2-1 Grounding Technique

  • ใช้วิธี “5-4-3-2-1 Grounding Technique” เทคนิคนี้ช่วยให้เด็ก กลับมาโฟกัสกับปัจจุบัน โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เมื่อรู้สึกเสียสมาธิหรือใจลอย ให้ลองทำตามนี้
    • 5 – มองหาสิ่งที่เห็นรอบตัว 5 อย่าง
    • 4 – สัมผัสสิ่งของที่อยู่ใกล้ 4 อย่าง
    • 3 – ฟังเสียงรอบตัว 3 เสียง
    • 2 – สูดดมกลิ่นที่รู้สึกได้ 2 อย่าง
    • 1 – จินตนาการรสอะไรสักอย่าง หรือรับรู้รสชาติที่อยู่ในปาก

เทคนิคนี้ช่วยให้เด็ก จดจ่อกับปัจจุบัน ลดความฟุ้งซ่าน และกลับมาโฟกัสกับงานที่ทำได้เร็วขึ้น 

✅ 3. กำหนดช่วงเวลาพัก เพื่อช่วยให้สมองรีเซ็ต

  • ให้ลูกทำงานหรือเรียนเป็นช่วงสั้น ๆ แล้วพักระยะสั้น ๆ เช่น ทำงาน 25 นาที พัก 5 นาที (เทคนิค Pomodoro)
  • ในช่วงพัก อาจให้ลูกเดินเล่น ยืดเส้นยืดสาย หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้สมองผ่อนคลาย

✅ 4. ลดสิ่งเร้าทางสายตาและเสียง

  • ใช้ โต๊ะทำงานที่มีของน้อยที่สุด เพื่อลดสิ่งที่ดึงดูดความสนใจ
  • ปิดเสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตขณะทำการบ้านหรืออ่านหนังสือ

✅ 5. ฝึกให้ลูกตั้งเป้าหมายระยะสั้น

  • ใช้การ ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ เช่น “อ่านหนังสือให้จบ 5 หน้า” หรือ “เขียนการบ้านให้เสร็จ 1 ข้อ”
  • ให้รางวัลเล็ก ๆ เช่น คำชม หรือสติ๊กเกอร์เมื่อลูกทำสำเร็จ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการจดจ่อ

4. ไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้ความคิดอย่างต่อเนื่อง

เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิอาจพบความยากลำบากในการทำงานที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์และการจดจ่อเป็นระยะเวลานาน เช่น การอ่านหนังสือ การแก้โจทย์คณิตศาสตร์ หรือการทำโครงงานในชั้นเรียน พวกเขาอาจเริ่มทำงานหนึ่งแล้วหยุดกลางคัน เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น หรือรู้สึกเบื่อเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เรียนรู้ช้า ขาดความเข้าใจในเนื้อหา และมีปัญหาในการพัฒนาทักษะทางปัญญา

📌 ลักษณะพฤติกรรมที่พ่อแม่ควรสังเกต

  • อ่านหนังสือได้ไม่นาน  เริ่มต้นอ่านแล้วละสายตาไปทำอย่างอื่นก่อนอ่านจบ
  • แก้โจทย์คณิตศาสตร์แล้วเลิกกลางคัน  พยายามทำแต่รู้สึกว่ายาก หรือละทิ้งเมื่อเจอข้อที่ซับซ้อน
  • ทำงานหลายอย่างพร้อมกันโดยไม่เสร็จสักอย่าง  เริ่มต้นทำหลายงานแต่ไม่มีงานไหนสำเร็จ
  • เสียสมาธิเมื่อเจอโจทย์ที่ต้องคิดนาน  พยายามทำงานที่ต้องใช้การวิเคราะห์ แต่หลุดโฟกัสไปอย่างรวดเร็ว
  • ขาดความอดทนในการคิดวิเคราะห์  รู้สึกเบื่อหน่ายหรือหงุดหงิดง่ายเมื่อต้องทำงานที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานาน

📌 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

  • พัฒนาการด้านการเรียนรู้ช้าลง  เด็กอาจขาดความเข้าใจในวิชาที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านวิเคราะห์
  • ขาดความมั่นใจในตัวเอง  รู้สึกว่าตัวเองทำไม่ได้ จึงไม่อยากพยายามหรือท้าทายตัวเองกับงานที่ซับซ้อน
  • มีปัญหากับการทำงานเป็นทีม  ไม่สามารถโฟกัสกับงานที่ต้องคิดร่วมกัน หรือทำงานเป็นกลุ่มได้ดี

วิธีแก้ไขให้ลูกพัฒนาสมาธิและการคิดวิเคราะห์

✅ 1. ฝึกให้ลูกทำแบบฝึกหัดที่ต้องใช้สมาธิเป็นประจำ

  • ให้ลูกเริ่มจาก แบบฝึกหัดที่ง่ายก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากขึ้น
  • ใช้ เทคนิคแบ่งงานเป็นช่วงสั้น ๆ เช่น ให้ทำโจทย์ 2-3 ข้อก่อน แล้วพัก 5 นาที เพื่อไม่ให้รู้สึกเครียดเกินไป
  • ฝึก การอ่านแบบมีเป้าหมาย เช่น อ่านแล้วสรุปใจความสำคัญ หรือให้ลูกตั้งคำถามกับสิ่งที่อ่าน

✅ 2. กระตุ้นให้ลูกมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ผ่านเกมและกิจกรรม

  • เกมที่ใช้ตรรกะและการวิเคราะห์ เช่น หมากรุก จิ๊กซอว์ หรือซูโดกุ ช่วยให้เด็กฝึกการคิดเป็นระบบ
  • กิจกรรมที่ใช้การวางแผน เช่น ให้ลูกช่วยวางแผนการเดินทาง คำนวณค่าใช้จ่ายในการซื้อของ หรือวางแผนจัดงานเล็ก ๆ ในบ้าน
  • ถามคำถามปลายเปิด เช่น “ทำไมลูกคิดว่าตัวละครในนิทานทำแบบนี้?” หรือ “ถ้าเปลี่ยนตอนจบของเรื่อง ลูกจะเปลี่ยนยังไง?”

✅ 3. ใช้เทคนิคการฝึกสมาธิ เช่น Mindfulness และ SunTheanine

  • Mindfulness ช่วยให้เด็กฝึกจดจ่อกับสิ่งที่ทำในปัจจุบัน เช่น การฝึกหายใจลึก ๆ หรือการนั่งสมาธิสั้น ๆ ก่อนเริ่มทำงาน
  • SunTheanine มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถ กระตุ้นคลื่นสมอง Alpha-wave ซึ่งช่วยให้เด็กเข้าสู่สภาวะ ผ่อนคลายแต่ตื่นตัว ทำให้สามารถคิดวิเคราะห์และจดจ่อกับงานได้ดีขึ้น

5. ควบคุมตัวเองได้ยาก ตอบสนองเร็วโดยไม่ทันคิด

เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิมักมี ความยากลำบากในการควบคุมพฤติกรรมและการตอบสนองของตนเอง พวกเขาอาจพูดแทรก ขัดจังหวะ ไม่สามารถรอคอยได้ หรือแสดงอารมณ์ออกมาอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันคิด พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว และการเรียนรู้ในห้องเรียน

📌 ลักษณะพฤติกรรมที่พ่อแม่ควรสังเก

  • พูดแทรกหรือขัดจังหวะบ่อย  มักพูดออกมาก่อนโดยไม่รอให้คนอื่นพูดจบ
  • ไม่สามารถรอคอยได้  เช่น รีบร้อนอยากเล่นก่อนเพื่อน หรือไม่มีความอดทนเมื่อรอคิว
  • ตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างรวดเร็วเกินไป  เช่น รีบตอบคำถามในห้องเรียนโดยไม่คิด หรือแสดงอารมณ์โกรธเมื่อไม่ได้ดั่งใจ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว  ดีใจ หงุดหงิด หรือเศร้าอย่างฉับพลัน โดยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้
  • ทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ไตร่ตรองก่อน  เช่น คว้าของเล่นของเพื่อนโดยไม่ขอ หรือพูดสิ่งที่อาจทำร้ายความรู้สึกผู้อื่นโดยไม่ทันคิด

📌 ผลกระทบของพฤติกรรมที่ตอบสนองเร็วโดยไม่ทันคิด

  •  ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์  อาจทำให้เพื่อน หรือผู้ใหญ่คนอื่น รู้สึกไม่สบายใจ หรือรู้สึกว่าเด็กไม่ให้ความเคารพ
  • ทำให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว  พ่อแม่อาจรู้สึกเหนื่อยและกังวลเมื่อลูกไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
  • ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิต อาจทำให้เด็กขาดความสามารถในการจัดการปัญหาและควบคุมอารมณ์ในระยะยาว

วิธีช่วยให้ลูกควบคุมตัวเองและคิดก่อนทำ

✅ 1. ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอยและคิดก่อนตอบสนอง

  • ใช้ “หยุด-คิด-ทำ” – สอนให้ลูกหยุด 3 วินาที ก่อนพูดหรือทำอะไร
  • ฝึกให้ นับ 1-5 ก่อนพูด หากต้องการแสดงความคิดเห็น
  • ใช้ กิจกรรมฝึกการรอ เช่น เล่นเกมที่ต้องผลัดกัน หรือสอนให้รอเวลาทานขนม

✅ 2. ใช้วิธีเสริมแรงเชิงบวกเมื่อเด็กสามารถควบคุมตัวเองได้

  • ชมเชยเมื่อลูกฟังคนอื่นพูดจนจบ หรือสามารถรอคอยได้
  • ใช้ ระบบรางวัล เช่น ให้สติ๊กเกอร์สะสมเมื่อมีพฤติกรรมที่ดี
  • ตั้ง กฎและข้อตกลงที่ชัดเจน เกี่ยวกับการพูด การรอคิว และการแสดงออกทางอารมณ์
  • สร้าง “มุมสงบ” ที่บ้าน ให้ลูกได้พักผ่อนและสงบจิตใจก่อนกลับมาคุยกัน

✅ 3. เสริมโภชนาการที่ช่วยพัฒนาการควบคุมตนเอง

  • สาหารเสริมที่มี SunTheanine กระตุ้นคลื่นสมอง Alpha-wave  มีผลช่วยให้สมองผ่อนคลายแต่ยังคงตื่นตัว ทำให้เด็กควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ดีขึ้น
  • เสริม DHA เสริมการทำงานของสมอง ช่วยให้เด็กคิดเป็นระบบและมีสมาธิ
  • เสริมพรีไบโอติกส์และโปรไบโอติกส์  ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและอารมณ์

6. มีปัญหาในการนอนหลับ ส่งผลต่อสมาธิ ลูกไม่มีสมาธิ และการเรียนรู้

การนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อ สมาธิ ความจำ และพัฒนาการทางสมองของเด็ก เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิมักพบว่าตัวเอง นอนหลับยาก หลับไม่สนิท หรือฝันร้ายบ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ส่งผลให้ในแต่ละวันรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ขาดพลังงาน และไม่มีสมาธิในการเรียน

📌 ปัญหาการนอนหลับที่พบบ่อยในเด็กที่มีสมาธิต่ำ

  • นอนหลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะหลับ แม้จะเข้านอนตรงเวลาก็ตาม
  • หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ฝันร้าย  ตื่นระหว่างคืน หรือมีช่วงหลับตื้นทำให้ไม่สดชื่นเมื่อตื่นเช้า
  • ง่วงนอนตอนกลางวัน สมาธิสั้นลง  เมื่อสมองไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ อาจทำให้โฟกัสกับการเรียนหรือกิจกรรมต่าง ๆ ได้ยากขึ้น

วิธีช่วยให้ลูกนอนหลับสนิท และมีสมาธิดีขึ้นในระหว่างวัน

Promom ความทุ่มเทของคุณหมอหัวใจแม่

✅ สร้างกิจวัตรก่อนนอน  กำหนดเวลาเข้านอนที่แน่นอน หลีกเลี่ยงหน้าจอ และทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย เช่น อ่านนิทานหรืออาบน้ำอุ่น

✅ ปรับสภาพแวดล้อม   ควบคุมแสง อุณหภูมิ และลดเสียงรบกวน เพื่อให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน

✅ เสริมโภชนาการที่ช่วยให้หลับลึก  Suntheanine กรดอะมิโนสกัดจากธรรมชาติ ช่วยให้ลูก นอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ ลดการตื่นกลางดึก และกระตุ้นคลื่นสมอง Alpha-wave ซึ่งช่วยให้สมองอยู่ในภาวะ ผ่อนคลายแต่ตื่นตัว ทำให้ลูกมีสมาธิสูงสุดและพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้น

ตารางเปรียบเทียบพฤติกรรมเด็กที่มีสมาธิดี vs. เด็กที่มีปัญหาสมาธิ

พฤติกรรมเด็กที่มีสมาธิดีเด็กที่ขาดสมาธิ
การทำการบ้านทำจนเสร็จ ไม่วอกแวกง่ายทำไปเรื่อย ๆ แต่ไม่เสร็จ หรือเปลี่ยนกิจกรรมกลางคัน
การฟังคำสั่งฟังและทำตามได้ทันทีต้องบอกซ้ำหลายครั้ง หรือลืมสิ่งที่บอกไปเร็ว
ความอดทนและการรอคอยสามารถรอคิว เล่นกับเพื่อนโดยไม่แทรกหงุดหงิดง่าย ไม่สามารถรอได้ ขัดจังหวะผู้อื่นบ่อย
การนั่งนิ่งๆนั่งทำกิจกรรมได้นานขยับตัวอยู่ตลอดเวลา กระสับกระส่าย
การจดจ่อสามารถโฟกัสกับงานได้ 15-30 นาทีเบื่อง่าย ไม่มีสมาธิ เปลี่ยนกิจกรรมบ่อย
การลืมสิ่งของจำของใช้ตนเองได้ดีลืมของบ่อย เช่น หนังสือ สมุด ดินสอ

แบบทดสอบเบื้องต้น: ลูกของคุณมีปัญหาสมาธิหรือไม่?

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกของตนอาจมีปัญหาสมาธิ ลองทำ แบบทดสอบเบื้องต้น นี้เพื่อช่วยประเมินว่าลูกมีแนวโน้มสมาธิสั้นหรือไม่ คำถามต่อไปนี้เป็นแนวทางให้คุณพิจารณาพฤติกรรมของลูกในชีวิตประจำวัน

ส่วนที่ 1: พฤติกรรมทั่วไป
1ลูกของคุณสามารถจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำได้นานกว่า 15 นาทีโดยไม่วอกแวกหรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
2ลูกสามารถนั่งฟังนิทานหรือคำอธิบายจากคุณพ่อคุณแม่ได้นานพอสมควร หรือฟังจนจบโดยไม่เสียสมาธิหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
3เมื่อลูกอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน เช่น เสียงโทรศัพท์หรือเสียงพูดคุย ลูกยังสามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้หรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
4ลูกสามารถรอคอยได้โดยไม่ขัดจังหวะ หรือพูดแทรกบ่อยครั้งหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
ส่วนที่ 2: พฤติกรรมในโรงเรียนหรือการทำการบ้าน
5ลูกสามารถทำการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จได้โดยไม่เสียสมาธิหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
6คุณครูเคยชมว่าลูกมีสมาธิที่ดี ตั้งใจเรียน และสามารถทำงานกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
7ลูกของคุณสามารถจดจำและจัดการของใช้ส่วนตัว เช่น สมุดเรียน ดินสอ หรือกระเป๋านักเรียน ได้อย่างเป็นระเบียบหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
ส่วนที่ 3: พฤติกรรมทางอารมณ์และร่างกาย
8ลูกสามารถนั่งนิ่งและจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้เป็นเวลานาน โดยไม่ขยับตัวมากเกินไป หรือเล่นมือเล่นเท้าตลอดเวลาหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่
9ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี เช่น ไม่หงุดหงิดง่าย ไม่ร้องไห้หรือโวยวายเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการหรือไม่?
ใช่

ไม่ใช่

วิธีประเมินผล

ถ้าคุณตอบ “ใช่” มากกว่า 7 ข้อ – ลูกของคุณมีสมาธิที่ดี และสามารถควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม
ถ้าคุณตอบ “ใช่” 4-6 ข้อ – ลูกอาจมีแนวโน้มขาดสมาธิบ้าง ควรสังเกตเพิ่มเติมและฝึกฝนให้ลูกมีสมาธิดีขึ้น
ถ้าคุณตอบ “ใช่” น้อยกว่า 3 ข้อ – ลูกอาจมีปัญหาสมาธิที่ชัดเจน ควรหาวิธีเสริมสร้างสมาธิให้ลูก หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก


5 คำถามที่พ่อแม่สงสัยเกี่ยวกับสมาธิลูก

  1. ถาม: ลูกของฉันมีอาการซนมาก นี่คือสัญญาณของสมาธิสั้นหรือไม่?
    • ตอบ: ความซนเป็นเรื่องปกติของเด็ก แต่ถ้าลูกมีอาการ วอกแวกง่าย ซนเกินวัย ไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมได้นาน หรือมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ควรเฝ้าสังเกตและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
  2. ถาม: จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกไม่มีสมาธิ?
    • ตอบ: สังเกตจากอาการ เช่น  หลงลืมง่าย ทำงานไม่จบ ซนผิดปกติ พูดแทรกบ่อย ไม่สามารถรอคอยได้ หากพบอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อการเรียนหรือพฤติกรรม ควรพาลูกไปพบแพทย์
  3. ถาม: อาหารมีผลต่อสมาธิของลูกหรือไม่?
    • ตอบ: มีผลอย่างมาก! อาหารที่มี DHA, Probiotics, Prebiotic, Suntheanine, ธาตุเหล็ก มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและสมาธิ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรืออาหารแปรรูปที่อาจทำให้พฤติกรรมของลูกแย่ลง
  4. ถาม: การใช้หน้าจอมากเกินไปส่งผลต่อสมาธิของลูกอย่างไร?
    • ตอบ: เด็กที่ใช้หน้าจอมากเกินไปอาจมีปัญหาสมาธิสั้น เนื่องจากการเลื่อนหน้าจอเร็ว ๆ ทำให้สมองคุ้นชินกับการเปลี่ยนสิ่งเร้าบ่อย ๆ และส่งผลต่อการจดจ่อในชีวิตจริง ควรจำกัดเวลาใช้สื่อดิจิทัลไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง และส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมาธิแทน
  5. ถาม: มีกิจกรรมอะไรที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ลูกได้บ้าง?
    • ตอบ: กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมาธิ ได้แก่ ต่อจิ๊กซอว์ เล่นหมากรุก ระบายสี เล่านิทานแบบให้ลูกมีส่วนร่วม ฝึกหายใจลึก ๆ และเล่นโยคะเด็ก ช่วยให้เด็กจดจ่อได้นานขึ้น

ลูกไม่มีสมาธิ? อย่าปล่อยไว้ รีบดูแลตั้งแต่วันนี้!

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูกไม่มีสมาธิ ทำกิจกรรมได้นานแค่แป๊บเดียว ทำการบ้านไม่จบ ฟังคำสั่งแล้วลืม นี่อาจเป็นสัญญาณที่ต้องรีบดูแล

นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว โภชนาการที่เหมาะสมคือกุญแจสำคัญ ที่ช่วยให้สมองของลูกพร้อมสำหรับการเรียนรู้

ขอแนะนำ 𝗗𝗛𝗔 Probio 9 และ 𝗗𝗛𝗔 Probio 9+

ผลิตภัณฑ์เสริมพัฒนาการสมองที่คิดค้นโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อัดแน่นด้วยสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ลูกจดจ่อและเรียนรู้ได้ดีขึ้น

  • DHA จากธรรมชาติ ปราศจากโลหะหนัก เสริมสร้างพัฒนาการสมอง
  • Probiotics 5 สายพันธุ์ (Brain-Biotics) จุลินทรีย์ที่ช่วยเชื่อมโยงลำไส้กับสมอง ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
  • Suntheanine เพิ่ม คลื่นสมอง Alpha-wave ช่วยให้สมอง ผ่อนคลายแต่ตื่นตัว เสริมสมาธิ และช่วยให้หลับลึก
  • ธาตุเหล็ก SunActive® เทคโนโลยีดูดซึมได้ 100% เสริมพัฒนาการด้าน IQ และความจำ
  • GOS พรีไบโอติกส์ บำรุงสมองและช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดดีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Promom ความทุ่มเทของคุณหมอหัวใจแม่

ได้รับการการันตีคุณภาพระดับโลก

  • เหรียญทอง Prix Eiffel
  • รางวัล Future Food Award

ให้ลูกของคุณมีสมาธิ จดจ่อกับการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ลองเลยวันนี้ แล้วคุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลง!

เรื่องราวดีๆจาก Promom

เจ้าของบทความ

พชรอร ยอดพยุง (Content Team)

หรือติดตามได้ที่เพจ Promom Thailand

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจาก Promom

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็ก คิดค้นวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเด็กและพัฒนาจากองค์ความรู้ ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักโภชนาการเด็ก

Promom ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก

Nutri Plus 41&42 เพิ่มน้ำนมแม่

สำหรับคุณแม่หลังคลอด จัดส่งฟรี

Promom ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก

Multi-IMMU 24+ (เด็กโต) ลดภูมิแพ้

สำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป จัดส่งฟรี

Promom ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก

Multi-IMMU 24 (เด็กเล็ก) ลดภูมิแพ้

สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป จัดส่งฟรี

Promom ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก

DHA Probio 9+ (เด็กโต) พัฒนาสมอง

สำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป จัดส่งฟรี

Promom ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก

DHA Probio 9 (เด็กเล็ก) พัฒนาสมอง

สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป จัดส่งฟรี

Promom ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก

Cal-D-KII 6+ เพิ่มความสูง

สำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป จัดส่งฟรี

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็ก คิดค้นวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเด็กและพัฒนาจากองค์ความรู้ ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักโภชนาการเด็ก

แหล่งข้อมูล

... สั่งซื้อได้ตลอด 24 ชม.
ติดต่อโปรมัม
...
...
...

โทรศัพท์: 02 114 8788

อีเมลล์: [email protected]

...
...
Professional Mom (Thailand) Co., Ltd. เลขที่ 117 ซอยศูนย์การค้าสาย 4 ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21000.