เต้านม เรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
เรื่องราวดีๆจาก Promom สำหรับคุณแม่และลูกน้อย
เมื่อพูดถึงการให้นมบุตร เราก็มักจะนึกถึงวิธีการเพิ่มน้ำนมต่าง ๆ ก่อนเป็นลำดับแรก แต่คุณแม่อาจลืมถึงเรื่องสำคัญอย่างการดูแลเต้านมไป การดูแลสุขภาพของเต้านมให้ดี แข็งแรง ไม่คัด ไม่ตึง ไม่ติดเชื้อ คือเรื่องที่ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของลูกรักโดยตรงเช่นกัน ในวันนี้เราจะมาอธิบายให้คุณแม่เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของเต้านมว่ามันทำงานอย่างไร ผลิตน้ำนมจากตรงไหน รวมถึงวิธีดูแลเต้านมที่ถูกต้อง จะได้ไม่ต้องเจอปัญหาน่าหน่ายใจอย่าง เต้านมคัด เป็นต้น
เต้านมของคุณแม่ทำงานอย่างไร ผลิตน้ำนมจากไหน?
เต้านม คืออวัยวะหนึ่งของร่างกายที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อไขมมัน และต่อมมากมายที่ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำนมเพื่อเป็นอาหารของทารก โดยขนาดของเต้านมนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่คุณแม่สามารถผลิตได้แต่อย่างใด โดยองค์ประกอบของเต้านมมีดังนี้
- ลานนม หมายถึงบริเวณที่เป็นวงสีคล้ำรอบหัวนม จะขยายออกมากในช่วงเวลาหลังคลอด
- หัวนม ส่วนที่ยื่นออกมาจากเต้านมประมาณไม่เกิน 1 เซนติเมตร โดยบริเวณปลายหัวนมนั้น จะมีรูสำหรับให้น้ำนมไหลออกมา ประมาณ 5-9 รู
- ต่อมน้ำนม มีหน้าที่ในการผลิตน้ำนม โดยปริมาณของต่อมน้ำนมในร่างกายของคุณแม่ ไม่เกี่ยวกับขนาดของเต้านม ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ก็มีปริมาณเท่ากัน
- ท่อน้ำนม เป็นท่อที่เชื่อมต่อกับต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ส่งน้ำนมออกมาจากต่อมผลิตน้ำนม เพื่อให้ลูกดื่มกิน
วิธีดูแลเต้านมของคุณแม่ที่เหมาะสม
- การดูแลเต้านมสำหรับคุณแม่ โดยเฉพาะในช่วงให้นมบุตรถือเป็นเรื่องสำคัญ มีวิธีการที่อยากแนะนำ ดังนี้
- ทำความสะอาดเต้านมตามปกติ ด้วยการอาบน้ำ และซับให้แห้งหลังอาบเสมอ
- ไม่ถู เช็ด หรือขัดหัวนม เพราะอาจทำให้หัวนมแห้ง แตก และเกิดแผลซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อได้
- ดูแลยกทรงให้สะอาด เพราะในช่วงให้นมบุตร ยกทรงของคุณแม่นั้นมีโอกาสที่จะเปียกชื้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเพราะน้ำนมที่ไหล หรือเพราะเหงื่อก็ตาม คุณจึงต้องหมั่นเปลี่ยนยกทรงทุกวัน ไม่ควรใส่ซ้ำ และนำไปทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
- ระวังอาการคัดเต้านม คอยดูแลให้ดี อย่าปล่อยให้เต้านมตึงจนเกิดอาการเต้านมคัด ควรให้ลูกดูดนมเพื่อคลายอาการ หรือปั๊มนมอย่างต่อเนื่อง
- ระวังอาการติดเชื้อ คอยสังเกตว่าร่างกายตัวเองเป็นอย่างไร กดเต้านมแล้วรู้สึกเจ็บเป็นบางที่ หรือมีอาการเช่น ไข้สูงจนหนาวสั่นหรือไม่ หากมี แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อที่บริเวณเต้านม ควรงดให้นม และรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ดูแลเต้านมแล้ว อย่าลืมดูแลคุณภาพของน้ำนม
เมื่อดูแลสุขภาพของเต้านมเป็นอย่างดีแล้ว สิ่งที่ควรดูแลควบคู่กันสำหรับคุณแม่ให้นมก็คือ การดูแลคุณภาพของน้ำนม ให้มีปริมาณที่มากเพียงพอต่อความต้องการของลูก และมีสารอาหารสำคัญครบถ้วน โดยคุณแม่อาจทำตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหารทื่มีสรรพคุณเพิ่มน้ำนม เช่น หัวปลี ใบกะเพรา ขิง ฟักทอง ใบแมงลัก เป็นต้น
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพราะคุณแม่ในช่วงให้นมบุตรนั้น ร่างกายจะเสียน้ำมากกว่าปกติ
- นวดกระตุ้นเต้านมอย่างอ่อนโยน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมาได้มากขึ้น
นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับคุณแม่ในช่วงให้นมได้เช่นกัน และควรศึกษาถึงสารสกัด หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์นั้น ว่ามีสรรพคุณอย่างไร ตรงกับความต้องการหรือไม่ เช่นมี เมล็ดลูกซัดออร์แกนิก (Organic Fenugreek) หรือหัวปลีออร์แกนิก (Organic Banana Blossom) ซึ่งเป็นสมุนไพรออร์แกนิกที่มีสรรพคุณทางยาช่วยในการขับน้ำนมหลังคลอดบุตร เป็นต้น การได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายเหล่านี้ นอกจากจะช่วยให้ลูกรักได้รับน้ำนมที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอแล้ว ยังช่วยให้ตัวคุณแม่เองนั้นมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน ไม่ทรุดโทรมก่อนวัยอันควร ที่สำคัญไม่ต้องกังวลว่าจะรับประทานยาก เพราะในสมัยนี้ เค้ามีทำออกมาทั้งในรูปแบบเม็ด และซอฟต์เจลที่ช่วยให้รับประทานง่ายแล้วนั่นเอง
ดังนั้นหากคุณแม่มีความกังวลใจเรื่องปริมาณน้ำนม กลัวว่าจะมีน้ำนมน้อย หรือกังวลว่าจะเพิ่มคุณภาพของน้ำนมแม่ได้อย่างไรอย่าลังเลที่จะเข้ามาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเพิ่มปริมาณ และ คุณภาพน้ำนมจาก Promom ได้ทุกช่องทาง
Line: @promomthailand หรือคลิก https://lin.ee/l6je49Z
Inbox: http://m.me/PromomThailand
Shopee, LineMyShop, TikTok, Instagram: promomthailand
Website: https://promom.co.th
Call: 0-2114-8788
บทความที่ควรอ่านต่อ
แม่น้ำนมไม่พอ มีวิธีเพิ่มน้ำนมอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับบำรุงน้ำนมแม่ ด้วยสารสกัดออร์แกนิกจากหัวปลี ขิง และฟีนูกรีก
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจาก Promom
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็ก คิดค้นวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเด็กและพัฒนาจากองค์ความรู้ ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักโภชนาการเด็ก
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็ก คิดค้นวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเด็กและพัฒนาจากองค์ความรู้ ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักโภชนาการเด็ก