ไข้หวัดใหญ่ โรคอันตรายที่ป้องกันได้ ด้วยการดูแลภูมิคุ้มกันลูกรักให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ไข้หวัดใหญ่

สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ จากฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ มักมีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มักมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงมากพอ เช่น เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป รวมทั้งผู้มีโรคเรื้อรังต่าง ๆ ดังนั้น หากคุณแม่ไม่อยากให้ลูกรักป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ต้องไม่พลาดวิธีเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับลูกรัก ที่เรารวบรวมมาฝากในบทความนี้


แม้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงของโรคโควิด-19 จะคลี่คลายขึ้นมาก แต่ตัวเลขของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในปี พ.ศ.2565 กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ.2564 ซึ่งกลุ่มอายุของผู้ป่วยที่พบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่าง ๆ มากที่สุด ได้แก่ เด็กแรกเกิด – 4 ปี รองลงมาเป็นเด็กโต อายุ 5 – 14 ปี และกลุ่มวัยรุ่นถึงวัยเริ่มทำงาน อายุระหว่าง 15 – 24 ปี โดยมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8 กันยายน 2565 จำนวน 22,922 ราย และเสียชีวิต 1 ราย นอกจากนี้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ยังพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ สูงถึงปีละ 500,000 คน เลยทีเดียว


ไข้หวัดใหญ่เกิดจากอะไร?

ไข้หวัดใหญ่ มีการแพร่ระบาดมากในช่วงรอยต่อของฤดูกาล โดยเฉพาะในฤดูฝน และฤดูหนาว ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น ละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ อาการของไข้หวัดใหญ่จะรุนแรง และมีความเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนได้มากกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า


โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า อินฟลูเอนซา (Influenza Virus) แบ่งได้ 2 ชนิดหลัก และ 4 สายพันธุ์ย่อย คือ

  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1) 
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H3N2)
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata


อาการเบื้องต้นของไข้หวัดใหญ่

แม้ว่าอาการเริ่มต้นของไข้หวัดใหญ่จะดูคล้ายกับไข้หวัด แต่จะค่อย ๆ มีไข้สูงติดกัน 3 – 4 วัน เมื่อวัดไข้จะพบว่ามีอุณหภูมิประมาณ 39 – 40 องศาเซลเซียส ตัวร้อนจัด หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อทั่วตัว โดยเฉพาะต้นแขน ขา และหลัง มีอาการปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีน้ำมูกใส ไอแห้ง นอกจากนี้หาก ลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงได้อีกด้วย


อันตรายของไข้หวัดใหญ่ที่คร่าชีวิตของคนทั่วโลกไปนับแสนคน มาจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องพบแพทย์ทันทีเมื่อสงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาอย่างละเอียดและทันท่วงที


วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ เป็นไข้หวัดใหญ่ กี่วันหาย

หากมีอาการไม่มาก และไม่ใช่ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว แพทย์จะจ่ายยา และแนะนำให้ดูแลตามอาการ เช่น เช็ดตัวเมื่อไข้สูงร่วมกันการทานยาลดไข้ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารรสอ่อน และดื่มน้ำสะอาด แต่ถ้าหากมีอาการไข้สูงนานเกิน 3 วัน เป็นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะพิจารณาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอย่างละเอียดอีกครั้ง


โรคไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ไหม?

ปัจจุบันมีการพัฒนา วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Quadrivalent Influenza vaccine) ที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบในปัจจุบันจำนวน 4 สายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี โดยในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลได้เพิ่มขึ้น 113,000 ราย และลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้ถึง 13,200 ราย


สำหรับวัคซีนดังกล่าวนี้ สามารถฉีดได้ทุกคน สำหรับเด็กเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป รวมทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน


เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันสำหรับเด็ก

นอกจากการพาลูกรักเข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกปี ปีละ 1 ครั้งแล้ว การดูแลให้มีสุขภาพแข็งแรง ชวนกันออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน เช่น ไขมัน วิตามินซี โปรตีนแล้ว คุณแม่ยังสามารถดูแลให้ลูกรักรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ควบคู่ไปกับการเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก ที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน ได้แก่


  • โพรไบโอติกส์ สายพันธุ์ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • พรีไบโอติก ชนิดที่พบในน้ำนมแม่ หรือ HMOs ซึ่งเป็นอาหารที่โพรไบโอติกส์ชื่นชอบมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้โพรไบโอติกส์เหล่านี้เจริญเติบโตได้ดี และปกป้องร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เอลเดอร์เบอร์รี ผลไม้ที่มีสรรพคุณช่วยต่อต้านไวรัสและแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และมีวิตามินซีสูงมาก
  • เบต้ากลูแคน สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ป้องกันเชื้อไวรัส รา และแบคทีเรีย ทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้ดี
  • วิตามินและแร่ธาตุ ที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามิน A C D3 และแร่ธาตุ อย่าง ซิงค์ เป็นต้น


การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับลูกรัก คุณแม่จำเป็นต้องพิจารณาจากแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน มีการคิดค้นและพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักโภชนาการเด็ก และยิ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นมาเพื่อเด็กเอเชียโดยเฉพาะ จะดีต่อลูกรักมาก ๆ เนื่องจากมั่นใจได้ว่า สารอาหารที่ลูกได้รับนี้ มีปริมาณที่ผ่านการคิดค้นและวิจัยมาแล้วว่าเหมาะสมกับเด็กไทยมากที่สุด นอกจากนี้ ยังต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานการผลิตระดับสากล ผ่านการรับรองจากสถาบันชั้นนำระดับประเทศ และที่สำคัญต้องมีรสชาติอร่อย รับประทานง่าย เพื่อให้เด็ก ๆ ให้ความร่วมมือในการรับประทานทุกวัน นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณแม่ยุคใหม่ เลือกเสริมสุขภาพให้ลูกรัก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่าง ๆ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อลูกมีอาการป่วยได้มากยิ่งขึ้น


บทความที่คุณแม่ควรอ่านต่อ

ลูกเป็นหวัด น้ำมูกไหล ไม่หายสักที ไม่อยากให้ลูกน้ำมูกไหล ทำอย่างไร

ปอดอักเสบในเด็ก สังเกตอย่างไร ลูกหายใจหอบเหนื่อย อันตรายหรือไม่

ลูกตัวร้อน ลูกเป็นเป็นไข้บ่อยเกิดจากอะไร ลูกไม่สบายบ่อย กินอะไรดี?

แหล่งข้อมูล

RECOMMENDED

ผลิตภัณฑ์แนะนำสำหรับคุณแม่และลูกรัก

ติดตามและรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โปรโมชันและความรู้ดี ๆ ก่อนใครได้ที่นี่

ติดตาม Promom