เคยสงสัยกันไหม ทำไมลูกถึงเป็นไข้บ่อย เกิดจากอะไร ลูกตัวร้อน มีไข้สูง ต้องดูแลอย่างไร และถ้าไม่อยากให้ ลูกไม่สบายบ่อย ต้องกินอะไร ในบทความนี้รวบรวมทุกคำตอบมาให้คุณแม่แล้วค่ะ
ลูกตัวร้อน จากอาการไข้ ทำยังไงดี
บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่พบว่าเวลาลูกป่วย โดยเฉพาะเด็กเล็ก และเด็กทารก มักจะมีไข้สูงร่วมด้วย เมื่อสัมผัสเนื้อตัวดูจะรู้สึกได้ทันทีว่าลูกตัวร้อน บางครั้งจะมีเหงื่อออกจนเสื้อผ้าหรือที่นอนเปียกชุ่ม และยังพบว่าผิวบริเวณแก้มมักเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มขึ้นเนื่องจากพิษไข้ ลักษณะเหล่านี้ส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวลจนอยากรับเอาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้นมาไว้ที่ตนเองแทน
โดยปกติแล้ว อุณหภูมิของร่างกายคนเราจะเฉลี่ยประมาณ 37.5 องศาเซลเซียส แม้ว่าในช่วงเวลาต่าง ๆ อุณหภูมิร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามปัจจัยอื่น ๆ เช่น การทำกิจกรรม การสวมใส่เสื้อผ้า หรือสภาพอากาศรอบตัว แต่อย่างไรก็ดี อุณภูมิปกติของร่างกายก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส และไม่ควรสูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส
คุณแม่หลายคนอาจอยากทราบว่า เมื่อลูกตัวร้อน จะรู้ได้อย่างไรว่าอุณหภูมิกี่องศาถึงจะเป็นไข้ กรณีนี้ให้ลองใช้ปรอทวัดไข้มาวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกดู หากพบว่ามีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส จะถือว่า ลูกมีไข้สูง โดยการวัดไข้อาจทำได้หลายวิธีแตกต่างกันไปตามชนิดของอุปกรณ์วัดไข้ที่มีอยู่ประจำบ้าน หากคุณแม่พบว่าลูกมีไข้สูง ควรรีบดูแลและปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยด่วน
วิธีใช้ปรอทวัดไข้ วิธีวัดไข้ทารก ทำอย่างไร
- วิธีวัดไข้ด้วยปรอทแก้ว ก่อนใช้ควรสะบัดให้แถบบอกอุณหภูมิของปรอทอยู่ต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส โดยการวัดไข้อาจใช้วิธีอมไว้ใต้ลิ้น ซึ่งเหมาะกับเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ส่วนเด็กเล็กกว่าสามารถใช้วิธีหนีบรักแร้ให้แน่นประมาณ 3 – 5 นาที และหากเป็นเด็กทารก มักจะวัดไข้ทางทวารหนัก ซึ่งจะสอดปรอทเข้าไปลึกประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร ค้างไว้ประมาณ 1 นาที เป็นต้น
- วิธีวัดไข้ด้วยปรอทดิจิทัล เป็นปรอทวัดไข้ที่ใช้งานได้ง่ายและได้รับความนิยมมาก เพราะอ่านค่าง่าย ให้ความแม่นยำไม่ต่างจากปรอทแก้ว ส่วนวิธีใช้ก็ง่ายมาก เพียงแค่เปิดเครื่อง นำไปวัดอุณหภูมิตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ปาก หู รักแร้ หรือทวารหนัก รอจนปรอทแสดงตัวเลขอุณหภูมิ
ลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด ทำไงดี
เมื่อพบว่าลูกตัวร้อนจากพิษไข้ หรือมีอุณหภูมิวัดได้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส สิ่งแรกที่คุณแม่ควรทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด อาการชักเพราะไข้สูง หลังจากการรับประทานยาลดไข้สำหรับเด็ก และดื่มน้ำมาก ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรเช็ดตัวให้ลูก ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยนำความร้อนออกจากร่างกายของลูกได้เร็วกว่าการแปะ เจลลดไข้ โดย วิธีเช็ดตัวลดไข้ ทำได้โดยการใช้ผ้าขนหนู 2 – 3 ผืน ชุบน้ำอุณหภูมิประมาณ 27 – 37 องศาเซลเซียส สลับกันไล่เช็ดตัวลูกรักตั้งแต่ใบหน้า พักไว้ที่หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ไล่เช็ดลงมาตามหน้าอก หลัง ลำตัว และพักผ้าไว้ที่ขาหนีบ ในส่วนของแขนและขา ควรใช้ผ้าเช็ดย้อนรูขุมขน หรือเช็ดจากปลายแขนเข้าสู่ลำตัว ทำซ้ำ 3 – 4 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี หลังจากเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดซ้ำ ๆ ครบ 30 นาทีแล้ว
คุณแม่สามารถเช็ดตัวลูกให้แห้งสนิท และสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ระบายเหงื่อได้ดี และให้นอนพักผ่อนในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก ทั้งนี้ การเช็ดตัวลดไข้ สามารถทำได้บ่อย ๆ หรือทุก ๆ 4 ชั่วโมง ก็จะช่วยให้อุณหภูมิร่างกายที่ร้อนจากพิษไข้ลดลงจนเป็นปกติ
ลูกเป็นไข้ ตัวร้อน มือเท้าเย็น อันตรายไหม
การที่ลูกตัวร้อนจากอาการไข้สูง แต่มือและเท้าเย็น เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่เช็ดตัว และให้ลูกรับประทานยาลดไข้สำหรับเด็กแล้วไข้ยังไม่ลด และพบว่ามีไข้ ตัวร้อน ร่วมกับมีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ผิวหนังเป็นจุด ๆ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการอย่างเร่งด่วน
ลูกไข้สูง ชัก ทำไงดี
อาการชักจากไข้สูง หรือมีภาวะ ไข้ชัก พบได้บ่อยในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุประมาณ 1 – 2 ปี โดยการชักจากไข้สูง จะเกิดขึ้นเมื่อมีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หากพบว่าลูกชักจากไข้สูง คุณแม่ต้องจัดร่างกายลูกให้อยู่ในท่านอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก ไม่ควรพยายามป้อนยา นำช้อนมางัดปาก หรือเขย่าตัวลูกเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกมีอันตรายมากขึ้น โดยทั่วไปการชักจากไข้สูงจะหยุดเองภายใน 3 – 5 นาที ถ้ามีอาการนานกว่านั้น หรือมีภาวะตัวเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเป็นอันตรายต่อสมอง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
ลูกเป็นไข้กี่วันควรไปหาหมอ
- หากทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส หรือมีอาการที่น่าเป็นห่วงร่วมด้วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย เซื่องซึม ผิวหนังเปลี่ยนสี หรือหายใจติดขัด คุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด และรักษาอย่างเหมาะสม
- เด็กเล็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี หากได้รับประทานยา และเช็ดตัวตามคำแนะนำแล้วไข้ยังสูงเกิน 1 วัน หรือมีอาการแทรกซ้อนที่ไม่น่าไว้วางใจ ควรไปพบแพทย์ทันที
- เด็กอายุ 1 – 2 ปี หากมีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส และไม่สามารถทำให้ไข้ลดลง แม้จะรับประทานยาและเช็ดตัวลดไข้ไปแล้ว นานกว่า 2 วัน หรือมีอาการแทรกซ้อนที่ไม่น่าไว้วางใจได้ ควรพาไปพบแพทย์ทันที
- เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป หากมีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส นานเกิน 3 – 4 วัน แม้ว่าจะรับประทานยาลดไข้ตามคำแนะนำของเภสัชกรแล้ว หรือพบว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ไม่น่าไว้วางใจ เช่น เหนื่อยหอบ ไอมากขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
ลูกเป็นไข้บ่อยเกิดจากอะไร
สำหรับเด็กเล็ก การป่วยบ่อยหรือเป็นไข้บ่อย มักเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่ากับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ส่งผลให้เจ็บป่วยง่ายหากได้สัมผัสกับไวรัส อากาศเปลี่ยนแปลง หรือได้รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของลูก จะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเมื่อลูกโตขึ้น แต่คุณแม่ก็สามารถเร่งเสริมเกราะภูมิคุ้มกันได้ด้วยการให้ลูกรักรับประทานนมแม่ ที่ประกอบด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และเปรียบเสมือนวัคซีนที่ดีที่สุดของลูกรัก อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ร่วมกับการพาลูกไปรับวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์ให้ครบถ้วน นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถดูแลให้ลูกรักรับประทานอาหารเสริมภูมิคุ้มกันก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก
แต่หากสังเกตพบว่า ลูกป่วยบ่อย เป็น ๆ หาย ๆ ร่วมกับรับประทานอาหารได้น้อยลง มีอาการเบื่ออาหาร ท้องเสียบ่อย มีไข้สูงลอย หรือร้องไห้งอแงมากผิดปกติ แนะนำให้คุณแม่พาลูกรักไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกของร่างกาย รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันอย่างถี่ถ้วน
ลูกเป็นไข้อ่อน ๆ ไม่หาย เกิดจากอะไร
อย่างที่กล่าวไปว่า การที่เด็ก ๆ เป็นไข้อ่อน ๆ ไม่หายซักที อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งระบบภูมิคุ้มกันที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียผ่านการสัมผัส การหายใจ หรือการรับประทาน ซึ่งคุณแม่เองสามารถดูแลสุขภาพ รวมทั้งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรงและทำงานได้เต็มศักยภาพมากขึ้น ด้วยการให้ลูกรักรับประทานอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ร่วมกับ อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ที่ช่วยส่งเสริมเกราะภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ลูกไม่สบายบ่อย กินอะไรดี
การเลือกให้ลูกรักรับประทานอาหารที่มีสรรพคุณช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น ผัก ผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง ธัญพืชต่าง ๆ รวมทั้งการเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของ
- โพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือจุลินทรีย์สุขภาพ ชนิดที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- พรีไบโอติก (Prebiotic) ชนิดที่พบในนมแม่ คือ HMOs มีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกรักอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอาหารที่โพรไบโอติกส์ชื่นชอบ
- เอลเดอร์เบอร์รี (Elderberry) ผลไม้ผลจิ๋วที่มีคุณสมบัติช่วยในการยับยั้งไวรัส และแบคทีเรียต่าง ๆ และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ดี
- เบต้า-กลูแคน (Beta-Glucan) สารสกัดจากยีสต์ธรรมชาติ ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว และเสริมเกราะป้องกันร่างกาย
- แร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี 3 ซิงค์ เป็นต้น
เมื่อเด็ก ๆ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้มีสุขภาพดี ลดการเจ็บป่วย และลดอาการภูมิแพ้ที่เกิดจากสภาพแวดล้อม และอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นการเสริมเกราะภูมิคุ้มกันครบทุกกลไกนั่นเอง
แหล่งข้อมูล
-
Muti-IMMU 24 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Nutri Plus 41 | 42 (14 ซอง)
1,100 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Nutri Plus 41 | 42 (7 ซอง)
550 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Cal-D-KII 6 Plus (14 ซอง)
1,450 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Muti-IMMU 24 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
DHA Probio 9 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
DHA Probio 9 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า
ติดตามและรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โปรโมชันและความรู้ดี ๆ ก่อนใครได้ที่นี่
ติดตาม Promom