เมื่อพูดถึงการส่งเสริมความฉลาด หลายคนมักนึกถึงการดูแล สมอง เป็นอันดับแรกเสมอ แต่ทราบหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วยังมีอวัยวะอีกส่วนหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาด และต้องการการดูแลเป็นอย่างดีไม่แพ้สมองเช่นกัน นั่นคือ ลำไส้ สมองที่สอง อวัยวะของมนุษย์ที่มักถูกละเลยอยู่เป็นประจำ
เนื่องจากอวัยวะในระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายล้วนทำงานสัมพันธ์กันภายใต้การควบคุมของสมอง และระบบประสาทอัตโนมัติ แต่การที่ ลำไส้ สมองที่สอง มีส่วนเกี่ยวข้องกับความฉลาด และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกรักให้มีศักยภาพมากขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่หลายคนอาจเพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก ในวันนี้ เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักกับสมองส่วนที่อยู่ในลำไส้ให้มากขึ้น
ลำไส้ ทำหน้าที่อะไรบ้าง
ลำไส้ เป็นหนึ่งในอวัยวะของระบบย่อยอาหาร นอกจากการทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ย่อยอาหาร และขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายแล้ว ลำไส้ยังเป็นเสมือนศูนย์บัญชาการกองทัพที่คอยปกป้องร่างกาย เนื่องจาก 70% ของภูมิคุ้มกันในร่างกายอยู่ในลำไส้ แต่ยังมีคนอีกมากมายไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่า ลำไส้ ที่มีความยาวต่อกันมากกว่า 8 เมตรนี้ ยังทำหน้าที่ส่งต่อสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งกลับไปยังสมองส่วนบนอีกด้วย
ลำไส้ สมองที่สอง ของร่างกาย
ระบบย่อยอาหาร มีการทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้ ระบบประสาทลำไส้ (Enteric Nervous System – ENS) สามารถทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องรอคำสั่งหรือการตัดสินใจจากสมอง นอกจากจะทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารจากอาหารที่เรารับประทานในแต่ละมื้อเพื่อส่งไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายแล้ว ลำไส้ยังมีหน้าที่ตรวจจับแบคทีเรียและจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ล่วงล้ำเข้ามาในระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายสามารถโต้ตอบและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพได้ในทันที
ไม่เพียงเท่านี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยระบบประสาทลำไส้ชาวสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่า แท้จริงแล้วภายในลำไส้ยังมีเซลล์ประสาทจำนวนมากกระจายตัวอยู่มากกว่า 100 ล้านเซลล์ จึงเรียกได้ว่า ลำไส้เป็นอวัยวะที่มีระบบประสาทซับซ้อนรองจากสมอง และยังค้นพบอีกว่า ลำไส้ มี สารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่พบได้ในสมองมากถึง 95% สิ่งนี้เองที่ทำให้ลำไส้สามารถตัดสินใจ สั่งการ และทำงานได้อย่างอิสระ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ลำไส้เปรียบเสมือนสมองส่วนที่สองของร่างกาย”
ลำไส้ดี สุขภาพดี อารมณ์ดี สมองดี
สุขภาพของลำไส้ ยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการพบสารเซโรโทนิน ซึ่งมีผลต่อสภาพอารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น อารมณ์ดี วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย รู้สึกหิว-อิ่ม อารมณ์ทางเพศ และการนอนหลับ ดังนั้น เราทุกคนจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพลำไส้ให้ดีเช่นเดียวกับการดูแลสมอง ด้วยการรับประทานอาหารที่หลากหลาย รับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยไฟเบอร์ ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ หรือ พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นประจำ และเติมจุลินทรีย์สุขภาพให้มีปริมาณที่เหมาะสม เพราะจำนวนของจุลินทรีย์ชนิดดี หรือ โพรไบโอติก (Probiotic) มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และการผลิตสารสื่อประสาทจากในระบบลำไส้เพื่อส่งกลับขึ้นไปยังสมองส่วนบน
เมื่อลำไส้มีสุขภาพดี ก็ส่งผลดีต่ออารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงยังมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างมาก
อาหารที่ลำไส้ชอบ คืออะไร อยากส่งเสริมการทำงานของ สมองส่วนที่ 2 ต้องกินอะไร
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า การดูแลลำไส้ ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ อาหาร และโพรไบโอติก ซึ่งในลำไส้จะเต็มไปด้วยจุลินทรีย์และแบคทีเรียต่าง ๆ มากกว่า 700 ชนิด เรียกได้ว่ามีทั้งชนิดที่ดี และชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่การจะให้ลำไส้มีสุขภาพดี ต้องควบคุมจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีจำนวนที่เหมาะสม
ในส่วนของการดูแลสมองส่วนที่สอง ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของโพรไบโอติกเช่นเดียวกัน นอกจากโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ยังมีโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะที่พิสูจน์แล้วว่า มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองส่วนที่สอง ด้วยการกระตุ้นการผลิตสารสื่อประสาทส่งกลับไปยังสมอง เพื่อพัฒนาสมอง เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ ความคิด และความจำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกโพรไบโอติกกลุ่มนี้ว่า Brain-biotics ประกอบไปด้วย
- Bacillus Coagulans
- Lactobacillus Casei
- Lactobacillus Rhamnosus
- Bifidobacterium Breve
- Lactobacillus Gasseri
แต่การจะเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ทั้ง 5 สายพันธุ์จากอาหารทั่วไปก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ดังนั้น การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของ Brain-biotics จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่สองได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเลือก Brain-biotics ที่ดี อาจเจาะจงผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้โพรไบโอติกส์ที่มีเทคโนโลยีเคลือบด้วยพรีไบโอติก ที่ช่วยให้โพรไบโอติกรอดชีวิตจากระบบย่อยอาหารผ่านเข้าไปยังลำไส้ได้มากที่สุดนั่นเอง
บทความที่ควรอ่านต่อ
ระบบขับถ่าย มีความสำคัญอย่างไร ดูแลอย่างไรให้สุขภาพดี
พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) มีประโยชน์อย่างไร ไม่อยากให้ลูกป่วยง่าย ต้องเสริมพรีไบโอติกส์!