การเรียนรู้ของเด็กยุคปัจจุบัน นอกจากจะต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคดิจิทัลแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพื้นฐานสมองที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ทุกแขนง และการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ให้ดีสมวัย
คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการเสริมสร้างสมอง ตลอดจนปรับเปลี่ยนวิธีสอนลูกให้เหมาะกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ได้ดี มีพัฒนาการดี และสามารถเอาตัวรอดจากวันที่ระบบปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นคู่แข่งที่เข้ามาแย่งอาชีพในอนาคตลูกไปได้
แม่ต้องรู้ เทคนิคเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้
เพื่อให้ลูกสามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ได้เต็มศักยภาพ สิ่งที่แรกที่คุณแม่สามารถมอบให้ลูกได้ คือ การสร้างสมองที่มีศักยภาพให้ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานสารอาหารสมอง เช่น DHA ไอโอดีน โฟเลต ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 โอเมก้า 369 เป็นประจำทุกวัน พร้อมกับทำกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ เช่น ส่องไฟฉายผ่านหน้าท้อง ฟังเพลง สัมผัสหน้าท้องเวลาที่ลูกขยับตัว พูดคุยหรือเล่านิทานให้ลูกในครรภ์ฟัง ซึ่งเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป
และหลังจากที่ลูกรักคลอดออกมาแล้ว ควรดูแลให้ลูกทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เพราะในนมแม่ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญเหมาะสำหรับทารกแรกเกิดมากกว่า 200 ชนิด อุดมด้วยสารอาหารสมอง และสารตั้งต้นภูมิคุ้มกันร่างกาย สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ลูกรักในวัยแบเบาะมีต้นทุนสมองที่ดี มีร่างกายแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มที่และมีศักยภาพสูงสุด
เทคนิคเสริม การเรียนรู้ ให้ลูกรัก ส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการดีสมวัย
เมื่อลูกอยู่ในวัยพร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว คุณพ่อคุณแม่คือกุญแจสำคัญที่จะส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้มีพัฒนาการที่ดีสมวัย โดยบทบาทสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยลูกรักได้ มีดังนี้
1. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
การมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี จะช่วยให้เด็กกล้าพูดในสิ่งที่คิด และกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยทักษะการพูดหรือการสื่อสารนั้น สามารถเริ่มฝึกให้ลูกได้ตั้งแต่ยังเป็นทารก พ่อแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ สื่อสารเยอะ ๆ เพราะแม้ว่าลูกอาจจะยังไม่สามารถพูดเป็นคำได้ แต่สมองของเด็ก ๆ จะจดจำและเพิ่มคลังคำศัพท์มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ จนเมื่อถึงวัยที่เริ่มพูดได้ เขาก็จะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะการสื่อสารที่ดีติดตัวไปจนโต
2. ฟังเพลงเสริมสร้างจินตนาการ
การให้ลูก ๆ ฝึกฟังดนตรีตั้งแต่ยังเล็กจะช่วยบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ และช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถนำดนตรีมาดัดแปลงเป็นสื่อการสอน โดยสอดแทรกคำศัพท์ต่าง เข้าไปในเนื้อเพลง หรือชวนกันขยับออกแบบท่าทางไปตามจังหวะดนตรี ซึ่งเป็นการเสริมสร้างจินตนาการที่ดีร่วมกัน
3. สอนให้ลูกมีทักษะสังคมที่ดี ผ่านการอ่านนิทาน
นิทานแต่ละเรื่องจะมีเรื่องราวที่ให้แง่คิด และการใช้ชีวิตของแต่ละตัวละครนั้น ๆ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่านิทาน โดยสอดแทรกคติสอนใจ และสอนวิธีการเข้าสังคมที่ดี เช่น การเสียสละ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การแบ่งปัน การรู้แพ้รู้ชนะ ผ่านนิทานเรื่องต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้ลูกมีพัฒนาการในการคิดเป็นเหตุเป็นผลแล้ว ยังช่วยให้ลูกมีทักษะการเข้าสังคมที่ดีอีกด้วย
4. พาลูกทำกิจกรรมที่หลากหลาย
เมื่อลูกเข้าสู่วัยที่พร้อมเรียนรู้ในทุก ๆ ด้าน ลูกจะเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือทำ คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้พวกเขาได้ทดลองทำกิจกรรมที่สนใจและชื่นชอบ เพื่อส่งเสริมให้ลูก ๆ สามารถค้นพบศักยภาพในตนเอง เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ ภาษา วิทยาศาสตร์ ตลอดจนนวัตกรรม และวิทยาการต่าง ๆ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ทักษะอื่น ๆ ได้ในอนาคต
5. ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เพิ่มพลังความแข็งแรง
สุขภาพดีเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ เพราะเมื่อเด็ก ๆ สามารถใช้ร่างกายได้อย่างเต็มที่ ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ มีความแข็งแรง มีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีสมวัย ทำให้เรียนรู้และลงมือทำในสิ่งที่สนใจได้อย่างเต็มที่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสมองของลูกให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและฉลาดสมวัยมากขึ้น
6. ปล่อยให้ลองผิดลองถูก คือ การเรียนรู้ที่ดี
การที่มีพ่อแม่คอยช่วยเหลือทุกอย่างตลอดเวลา อาจทำให้ลูกขาดทักษะการเอาตัวรอด และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่หากลองให้ลูกได้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดยพ่อแม่คอยเฝ้าดูอยู่ข้าง ๆ ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้พวกเขาได้ใช้ทักษะการคิดและแก้ปัญหา รู้จักการเรียนรู้ข้อผิดพลาด ล้มแล้วลุก ซึ่งเป็นวิธีสอนลูกให้เข้มแข็งด้วยทักษะ Resilience (RQ) คือ ทักษะการฝึกใจให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ลูกสามารถก้าวผ่านปัญหาและความกดดันต่าง ๆ ได้นั่นเอง
7. สอนให้รักและภาคภูมิใจในตัวเอง
เมื่อลูกทำผิด พ่อแม่สามารถตักเตือนลูกภายใต้หลักของเหตุและผล โดยมุ่งเน้นสอนพวกเขาอย่างมีเหตุผล ควรทำร่วมกับการชื่นชมและให้กำลังใจ ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ รับรู้คุณค่าในตัวเองมีความมั่นใจ และกล้าแสดงออกมากขึ้น นอกจากนี้ คุณแม่ควรเน้นไปที่การชมแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่พวกเขาควรทำ เช่น “หนูเป็นเด็กดีจังเลย เอาจานตัวเองไปเก็บด้วย ช่วยคุณแม่ได้เยอะเลย” ไม่เพียงเป็นการชมเชยให้ลูกภูมิใจเท่านั้น แต่ยังทำให้ลูกรู้ว่าการเก็บจานข้าวของตัวเอง เป็นสิ่งที่ตัวเองควรทำ
8. เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก
ครอบครัวเป็นสังคมที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้พวกเขาเกิดการซึมซับ ถ้าอยากให้ลูกเล่นกีฬา เราก็ควรที่จะอยู่เป็นคู่ซ้อมให้กับเขาในบางครั้ง หรือถ้าอยากให้ลูกเป็นเด็กที่สุภาพ อ่อนน้อม คุณแม่ก็ต้องพูดจาด้วยน้ำเสียงไพเราะ เพื่อให้ลูก ๆ จดจำและทำตามนั่นเอง
9. งดให้ลูกใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อน 2 ขวบ
มือถือ แท็บเล็ต ทีวี หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถให้ลูกเล่นได้หลังอายุ 2 ปีขึ้นไป แต่ควรอยู่ภายในสายตาของผู้ปกครอง และควรจำกัดเวลาให้เหมาะสมกับช่วงอายุ เพื่อลดผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด เช่น สายตาสั้น ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง พฤติกรรมก้าวร้าว กล้ามเนื้อมัดเล็กพัฒนาด้อยกว่าที่ควร นอกจากนี้ เด็กติดจอยังเสี่ยงต่อภาวะสมาธิสั้น เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตอบสนองไว ทำให้เด็กหลายคนหงุดหงิดง่าย เพราะในโลกในความเป็นจริงอาจไม่ได้ตอบสนองไวเหมือนในมือถือ รวมทั้งยังมีผลกระทบในเรื่องของการเข้าสังคมและพัฒนาการด้านภาษา เนื่องจากมือถือเป็นการสื่อสารทางเดียว เด็กจะนั่งดูอย่างเดียว เขาไม่ได้โต้ตอบ จะทำให้สูญเสียเรื่องทักษะของภาษา การออกเสียง การพูด การสื่อสารกับบุคคลอื่น
10. ดูแลให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสม
การเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบคุณค่าโภชนาการทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่ให้พลังงาน มีสารอาหารบำรุงสมอง ช่วยให้เด็ก ๆ พร้อมสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตลอดทั้งวัน
11. นอนหลับพักผ่อนเต็มที่
การที่เด็ก ๆ นอนหลับอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย อย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมงต่อวัน ไม่นอนดึกจนเกินไป ไม่ควรนอนดึกเกิน 3 – 4 ทุ่ม เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนทำงาน ก็จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกได้ทั้งร่างกายและสมอง เพราะขณะหลับสนิท โกรทฮอร์โมน (ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต) จะหลั่งออกมา ทำให้ลูกมีการเติบโตด้านร่างกายที่สมวัย น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ และที่สำคัญ เมื่อนอนหลับอย่างสนิท ยังช่วยให้ระบบประสาทและการสร้างเซลล์สมองทำงานอย่างเต็มที่ และเมื่อตื่นมาในวันใหม่ ลูกก็จะมีร่างกายสดชื่น พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่
รวมสารอาหารที่ช่วยการเรียนรู้ ดีต่อพัฒนาการสมองของลูกรัก
ดีเอชเอ (DHA)
เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ประเภทหนึ่ง หากลูกได้รับดีเอชเออย่างพอเพียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่และหลังคลอดจนเติบใหญ่ จะช่วยให้ระบบประสาทและสมองของลูกพัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยดีเอชเอนั้นพบมากในอาหารทะเลที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอน ปลาเทราต์ หรือปลาแอนโชวี่ เนื้อสัตว์ อาหารที่ทำจากนม หรืออาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งดีเอชเอทั่วไปนี้ อาจมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็ก ดังนั้น หากคุณแม่กำลังมองหาดีเอชเอที่ดี ควรเจาะจงเลือดดีเอชเอที่ปราศจากการปนเปื้อนของโลหะหนักเป็นอันดับแรก
Fe (SunActive Fe)
เป็นธาตุเหล็ก หนึ่งในแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ใช้ในการสร้างฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน รวมถึงสารอาหารไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก รวมถึงยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท สมอง ความจำ ของลูกได้เป็นอย่างดี
โพรไบโอติกส์ (Probiotics)
โพรไบโอติก ที่หลายคนรู้จัก ไม่ได้มีส่วนช่วยเรื่องการทำงานของลำไส้และปรับสมดุลของระบบขับถ่ายเท่านั้น แต่โพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่ถูกยกให้เป็น Brain Biotics ทั้ง 5 ชนิด คือ Lactobacillus casei, Lactobacillus rhamnosus, Bifidobacterium breve, Lactobacillus gasseri และ Bacillus Coagulans ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองส่วนที่สอง (2nd brain) ซึ่งอยู่บริเวณลำไส้ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตสารสื่อประสาทส่งกลับไปที่สมอง เพื่อพัฒนาสมองและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของลูกให้ดีขึ้นได้
กรดอะมิโนจากธรรมชาติ (SunTheanine)
เป็นหนึ่งในสารอาหารจากธรรมชาติที่มีส่วนช่วยในการผ่อนคลาย บรรเทาอาการวิตกกังวล ลดความเครียด เพิ่มสมาธิและความจำ รวมทั้งยังมีส่วนช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้อีกด้วย
ในปัจจุบัน มีการนำสารอาหารเหล่านี้มาผลิตในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก ๆ แต่ก่อนจะเลือกสรร คุณแม่ต้องมั่นใจก่อนว่า สารอาหารแต่ละชนิดมีคุณภาพหรือมีในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอกับลูกหรือไม่ ส่วนรูปแบบผลิตภัณฑ์ก็สำคัญ หากเป็นเด็กเล็กควรเป็นชนิดผงกรอกปากหรือผงชงน้ำน้อย ส่วนเด็กที่เริ่มโตขึ้นหน่อย การทานในรูปแบบเจลลี ควรมีรสชาติดี ทานง่าย และที่สำคัญ ต้องมีมาตรฐานการผลิตตามสากล มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรองรับ เพื่อให้ลูกรับประทานได้อย่างปลอดภัย ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมอง และการเรียนรู้ของลูกได้อย่างแท้จริง
บทความที่ควรอ่านต่อ
รู้จักทักษะ EF ทักษะสำคัญต่อพัฒนาการของลูกรักในยุคปัจจุบัน
ความสำคัญของ ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ที่พ่อและแม่ควรรู้
แหล่งข้อมูล
-
Muti-IMMU 24 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Cal-D-KII 6 Plus (14 ซอง)
1,450 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Nutri Plus 41 | 42 (7 ซอง)
550 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
DHA Probio 9 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Nutri Plus 41 | 42 (14 ซอง)
1,100 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
DHA Probio 9 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Muti-IMMU 24 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า
ติดตามและรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โปรโมชันและความรู้ดี ๆ ก่อนใครได้ที่นี่
ติดตาม Promom