เด็กแรกเกิด – 12 ปี ควรได้รับวัคซีนวัคซีนพื้นฐานตามช่วงวัย ตามตารางวัคซีนทารกของสมาคมโรคติดเชื้อเด็ก พร้อมกันนี้ ยังสามารถรับวัคซีนเสริมตามแพทย์แนะนำเพิ่มเติมได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย หรือหากป่วยก็จะมีอาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องทราบว่า วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง ช่วยอะไร และควรฉีดเมื่อไร
วัคซีนคืออะไร?
วัคซีน คือ ชีววัตถุที่นำมาจากเชื้อโรคหรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคนั้น ๆ นำมาผ่านกระบวนการ 2 รูปแบบ ได้แก่ ทำให้เชื้อโรคตายแต่ยังมีสารของเชื้อนั้น ๆ อยู่ในตัว หรือ ทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ลงเพื่อลดผลกระทบของเชื้อโรคให้ไม่เกิดความรุนแรงแก่ร่างกาย โดยหลังจากเด็ก ๆ ได้รับวัคซีนชนิดนั้น ๆ เข้าไปด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารแอนติเจนเพื่อต่อต้านเชื้อโรคชนิดนั้น ๆ ซึ่งเป็นการสร้างเกราะคุ้มกันสำหรับโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากในอนาคตเกิดการสัมผัสกับเชื้อโรคดังกล่าว ก็จะไม่เป็นโรค หรือกรณีที่เป็นก็จะมีอาการน้อย และหายเป็นปกติได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดนั้นมาก่อน
วัคซีนเด็กจำเป็นไหม วัคซีนพื้นฐานฟรี ฉีดที่ไหน
วัคซีนพื้นฐาน คือ วัคซีนจำเป็นที่เด็กทุกคนควรจะได้รับตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กไทยในแต่ละช่วงวัย โดยวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ ประจำปี พ.ศ.2666 มีดังนี้
- วัคซีนวัณโรค (BCG) ฉีดเมื่อแรกคลอด บริเวณที่ไหล่ซ้ายหรือสะโพก เด็ก ๆ จะได้รับวัคซีนชนิดนี้จากโรงพยาบาลก่อนกลับบ้าน
- วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) ควรฉีดตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุ 1 เดือน 6 เดือน ตามลำดับ
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DPT) ควรฉีดตามช่วงอายุตั้งแต่ 2, 4 และ 6 เดือน และฉีดเพื่อกระตุ้นการทำงานของวัคซีนอีกครั้งในช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน, 4 – 6 ปี และฉีดเฉพาะบาดทะยัก-คอตีบตอนอายุ 11 – 12 ปี
- วัคซีนโปลิโอ มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดรับประทาน และชนิดฉีด ควรให้ตามช่วงอายุตั้งแต่ 2, 4, 6 เดือน, 1 ปี 6 เดือน และ 2 ปีครึ่ง ตามลำดับ
- วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR) และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ควรฉีดตามช่วงอายุคือ 1 ปี และ 2 ปี 6 เดือน
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดทุกปี ปีละครั้ง ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 18 ปี สำหรับเด็กในปีแรกควรฉีด 2 เข็ม และฉีดห่างกัน 4 สัปดาห์
- วัคซีนเอชพีวี (HPV) เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี สาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถป้องกันได้ร้อยละ 70 – 90 สำหรับชนิด 2 สายพันธุ์เฉพาะเด็กผู้หญิงเท่านั้น และชนิด 4 สายพันธุ์ สามารถป้องกันหูดอวัยวะเพศได้ด้วย ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ช่วงวัยที่เหมาะสม คือ อายุ 9 ปีขึ้นไป
วัคซีนพื้นฐานตามตารางวัคซีน หรือ สมุดสีชมพู เด็กไทยทุกคนได้รับสิทธิ์ฉีดฟรี โดยสามารถเข้ารับบริการ วัคซีนพื้นฐาน ฟรี ได้ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลรัฐบาลทุกแห่งทั่วประเทศ
วัคซีนเสริม จำเป็นไหม วัคซีนเสริมภูมิคุ้มกัน สำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง
เพื่อให้เด็ก ๆ มีสุขภาพแข็งแรงสมวัย การเข้ารับวัคซีนเสริม หรือวัคซีนทางเลือก จึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคระบาดที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และอาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นในทุก ๆ ปี ข้อดีของวัคซีนเสริม คือ เป็นวัคซีนชนิดรวมฉีดเข็มเดียวแทนการแยกฉีดหลายเข็ม ลูกรักจึงเจ็บตัวน้อยครั้ง และคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ ซึ่ง วัคซีนเสริมที่ทางการแพทย์แนะนำ มีดังนี้
- วัคซีนโรต้า มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ Monovalent (Human) ให้รับประทาน 2 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน และชนิด pentavalent (Bovine- Human) ให้รับประทาน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน
- วัคซีนนิวโมคอคคัส ป้องกันปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สำหรับวัคซีนชนิด PCV ควรฉีดในช่วงอายุ 2, 4 และ 6 เดือน จากนั้น จึงฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 1 ปี – 1 ปี 3 เดือน สำหรับวัคซีนชนิด PS23 สามารถฉีดได้ในช่วงอายุ 2 ปี ขึ้นไป
- วัคซีนฮิบ (Haemophilusinfluenzae type b) ควรฉีดตามช่วงอายุตั้งแต่ 2, 4 และ 6 เดือน และฉีดเพื่อกระตุ้นการทำงานของวัคซีนอีกครั้งในช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน
- วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ควรฉีดในเด็กตามช่วงอายุ ตั้งแต่ 12 -18 เดือน และ 4 – 6 ปี ตามลำดับ รวมทั้งหมด 2 เข็ม
- วัคซีนตับอักเสบ เอ ฉีดช่วงอายุ 1 ปีขึ้นไป และเข็มที่ 2 ห่างกัน 6 – 12 เดือน
- วัคซีนไข้เลือดออก ฉีดช่วงอายุ 9 ปีขึ้นไป โดยฉีด 3 เข็มเว้นระยะ 6 เดือน และ 12 เดือนจากการฉีดเข็มแรก
สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้ก่อนพาลูกมาฉีดวัคซีน
- นำสมุดบันทึกวัคซีน หรือ สมุดสีชมพู มาด้วยทุกครั้ง
- ไม่ควรรับวัคซีนขณะที่มีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ยกเว้นเป็นหวัด ท้องเสียโดยไม่มีไข้สามารถรับวัคซีนได้
- หลังรับวัคซีนควรรออยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่ามีปฏิกิริยาแพ้ยาหรือไม่
- หากเคยรับวัคซีนแล้วมีอาการแพ้ยา หรือมีประวัติแพ้อาหาร เช่น มีอาการแพ้ไข่แบบรุนแรง คุณพ่อคุณแม่ควรแจ้งกุมารแพทย์หรือพยาบาลทุกครั้งก่อนรับวัคซีนทุกชนิด
อาหารเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับเด็ก
แม้ว่า การฉีดวัคซีน คือเป็นสิ่งจำเป็นในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง และรับมือกับโรคแต่ละชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ควรทำไปพร้อมกับการดูแลให้ลูกรักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ พร้อมกับเพิ่มความมั่นใจด้วยการเสริมอาหารเสริมเพิ่มภูมิคุ้มกันสำหรับเด็ก ก็อีกหนึ่งทางเลือกสำคัญที่จะช่วยให้สุขภาพของลูกแข็งแรงมากขึ้น
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเสริมผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันสำหรับเด็ก เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ มีเกราะภูมิคุ้มกันที่ทำงานได้อย่างมีศักยภาพ แนะนำให้พิจารณาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่
- Bifidobacterium lactis (บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กติส) โพรไบโอติกอีกชนิดที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยังมีประโยชน์ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการจุกเสียด ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน และการติดเชื้อทางเดินหายใจ รวมทั้งยังช่วยป้องกันฟันผุ ไข้ละอองฟาง ท้องร่วง และอาการอื่น ๆ อีกมากมายที่มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก
- Lactobacillus plantarum (แลคโตบาซิลลัส แพลนทารัม) โพรไบโอติกที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายได้อย่างโดดเด่น ช่วยลดการติดเชื้อ เนื่องจากตัวเชื้อจะไปยึดเกาะผนังของลำไส้ได้อย่างดี และช่วยลดอาการท้องอืดที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็กเล็ก
- Bacillus coagulans (บาซิลลัส โคแอกกูแลน) เป็นโพรไบโอติกอีกชนิดที่ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ท้องเสีย รวมถึงโรคลำไส้แปรปรวน ไม่เพียงช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ยังมีงานวิจัยรองรับว่าช่วยเรื่องการพัฒนาสมองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- Lactobacillus acidophilus (แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลลัส) เป็นโพรไบโอติกที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่พึงประสงค์ในลำไส้ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการด้านไวรัส จึงช่วยป้องกันเรื่องอาการหวัด ไวรัส และรวมถึงอาการแพ้ต่าง ๆ หรือเจ็บป่วยบ่อย โดยสามารถลดอาการหวัดในเด็กได้
- Bifidobacterium infantis (บิฟิโดแบคทีเรียม อินแฟนติส) เป็นโพรไบโอติกที่พบได้มากในลำไส้ของทารกแรกเกิด มีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกรักให้แข็งแรง และมีประสิทธิภาพในการต่อต้านจุลินทรีย์ก่อโรค รวมทั้งสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
- HMOs (Human milk Oligosaccharide) โอลิโกแซคคาไลด์ที่พบมากในนมแม่ และยังเป็นพรีไบโอติก (อาหารของโพรไบโอติก) ที่ Bifidobacterium infantis โปรดปรานอีกด้วย หากอยู่ในอาหารเสริมด้วยกันก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น
- Elderberry (เอลเดอร์เบอร์รี่) เบอร์รี่เม็ดเล็กที่อุดมไปด้วย กรดอะมิโนรูติน เคอเซติน วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี ทั้งยังมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ดี เป็นเบอร์รี่ที่ถูกใช้ในวงการแพทย์เพื่อใช้เป็นยาต้านหรือยับยั้งไวรัสต่าง ๆ
- Beta-glucan (Wellmune) เบต้ากลูแคน สารอาหารอีกหนึ่งชนิดที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันได้ดี ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากสารอาหารแล้ว การเลือกอาหารเสริมสำหรับลูก ควรคำนึงถึงรสชาติ และความสะดวกในการทาน สำหรับเด็กเล็กแนะนำเป็นแบบผงกรอกปากหรือแบบชงดื่มน้ำน้อย สำหรับเด็กโตแนะนำเป็นแบบเจลลี่ เพราะรับประทานง่าย เด็ก ๆ ถือรับประทานได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ต้องมีมาตรฐานการผลิตระดับสากล มีสถาบันชั้นนำระดับประเทศให้การรับรอง ที่สำคัญ ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นและพัฒนาเพื่อเด็กเอเชียโดยเฉพาะ เพราะมั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับสารอาหารในปริมาณที่เด็กไทยต้องการอย่างแท้จริง
แหล่งข้อมูล
-
DHA Probio 9 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Muti-IMMU 24 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
DHA Probio 9 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Nutri Plus 41 | 42 (14 ซอง)
1,100 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Cal-D-KII 6 Plus (14 ซอง)
1,450 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Nutri Plus 41 | 42 (7 ซอง)
550 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Muti-IMMU 24 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า
ติดตามและรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โปรโมชันและความรู้ดี ๆ ก่อนใครได้ที่นี่
ติดตาม Promom