ลูกอยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น ฝึกสมาธิลูกได้อย่างไร วิธีสังเกตลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น
เรื่องราวดีๆจาก Promom สำหรับคุณแม่และลูกน้อย
เด็กสมาธิสั้นเกิดจากอะไร ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ครอบครัวอาจความหนักใจเกี่ยวกับปัญหาลูกสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่ง จดจ่อได้ไม่นาน หรือ สมาธิสั้น เกินกว่าจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งบางครอบครัวเด็กที่สมาธิสั้นเกิดจากสาเหตุการติดจอ หรือติดโทรศัพท์มากเกินไป ยิ่งในยุคดิจิทัล ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลาย ๆ ครอบครัวเลี้ยงลูก ไปพร้อม ๆ กับสมาร์ทโฟน วันนี้จึงอยากพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านมาทำความรู้จักกับ โรคสมาธิสั้น ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและรับมือโรคที่อาจเกิดกับลูกของเราได้ดีมากขึ้น
เด็กที่สมาธิสั้นเป็นยังไง คืออะไร
เด็กสมาธิสั้น หรือ ภาวะสมาธิสั้น (Attention deficit/Hyperactivity Disorder) ถือเป็นภาวะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการมีสมาธิจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายว่าทำงานน้อยลงผิดปกติหรือไม่ ซึ่ง ภาวะสมาธิสั้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนอายุ 7 ขวบ และอยู่ในช่วงวัยเรียน จึงส่งผลกระทบต่อการเรียน พฤติกรรม อารมณ์ และการเข้าสังคมได้
โดยอาการโรคสมาธิสั้น จะแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมและการเลี้ยงดู สำหรับในประเทศไทยนั้น พบว่าเด็กวัยเรียนมักจะมีภาวะสมาธิสั้นร้อยละ 3 – 5 และจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 4 – 5 เท่า
เด็กสมาธิสั้น เกิดจากอะไร
อาการสมาธิสั้นของเด็ก ๆ อาจมีปัจจัยมาจากทางพันธุกรรม ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกสูงถึงร้อยละ 75 ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการเกิดภาวะสมาธิสั้นเลยก็ว่าได้ โดย อาการของภาวะสมาธิสั้น จะดีขึ้นหรือแย่ลงนั้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู และปัจจัยทางสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กแต่ละคน
นอกจากนี้ หากคุณแม่ขาดสารอาหาร สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงได้รับสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่ว ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจส่งผลทำให้เด็ก ๆ มีโอกาสเกิดภาวะสมาธิสั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ในช่วงตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยของลูกรัก คุณแม่ควรหมั่นดูแล และใส่ใจโภชนาการเพื่อบำรุงครรภ์ และพัฒนาการให้กับทารกในครรภ์อยู่เสมอ
อาการของโรคสมาธิสั้น
อาการของเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น อาจแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ไม่สามารถจดจ่อหรือเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ได้
- ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระหว่างการเรียน หรือบางครั้งอาจลุกออกจากห้องเรียนโดยไม่สนใจใคร
- เหม่อลอย เหมือนไม่ได้สนใจฟังเมื่อมีคนพูดคุยด้วย
- ทำตามคำสั่งได้ไม่ครบถ้วน
- มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดระเบียบความคิด หรือการจัดระเบียบในเรื่องอื่น ๆ
- มักทำของหาย หาของไม่เจออยู่บ่อยครั้ง
- วอกแวกต่อสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย
- หลงลืมการทำกิจวัตรประจำวัน
- อยู่นิ่งไม่ได้ ชอบหยุกหยิก ชอบขยับร่างกาย
- วิ่งและปีนป่ายในที่ที่ไม่สมควรเล่น
- เสียงดัง พูดไม่หยุด ไม่สามารถอยู่เงียบ ๆ ได้
- มีอาการหุนหันพลันแล่น
- ไม่ชอบการรอคอย และชอบขัดจังหวะ หรือพูดแทรกขณะกำลังสนทนา
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสังเกตพบว่า ลูกรักมีอาการดังกล่าวหลายข้อ และมีอาการติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าเด็ก ๆ กำลังมีภาวะสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็ก ๆ เข้า ตรวจคัดกรองโรคสมาธิสั้น เพื่อทำการวางแผนและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
วิธีฝึกสมาธิให้ลูก เพื่อเพิ่มสมาธิในการเรียนรู้
เด็กสมาธิสั้นรักษายังไง นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถฝึกเด็ก ๆ ให้มีสมาธิมากขึ้น ด้วยกิจกรรมง่าย ๆ ที่ทำพร้อมกันได้ทั้งบ้าน เช่น
- ฝึกสมาธิในการควบคุมตัวเอง เช่น การร้อยลูกปัด การฝึกทรงตัว
- การฝึกเพื่อเตรียมความพร้อม เช่น การฝึกอ่าน ฝึกเขียน
- ฝึกสมาธิให้จดจ่อ เช่น ทำกิจกรรมที่เด็กชอบทั้งวาดรูป ระบายสี หรือเล่นดนตรี
- ฝึกสมาธิและบริหารความจำ เช่น การต่อจิ๊กซอว์ การต่อตัวต่อหรือเกมแก้ไขปริศนา
วิตามินเด็กและโภชนาการเสริมสมาธิ
วิตามินและโภชนาการ เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรัก ปัจจุบันเด็ก ๆ อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเลือกกิน หรือกินแต่อาหารประเภท fast food และขนมกรุบกรอบมากเกินไป การเสริมวิตามินหรือการเสริมอาหารที่มีประโยชน์ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่ทุกบ้านสามารถทำได้
โดยการเลือกวิตามินและอาหาร ควรมีส่วนประกอบของ DHA สารอาหารที่ช่วยบำรุงและเสริมสร้างพัฒนาการของสมอง ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการด้านอารมณ์อารมณ์ พฤติกรรม และการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวของลูกรัก นอกจากนี้ อาหารบางประเภทยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ ช่วยลดอาการเด็กสมาธิสั้น เช่น ผลไม้ตระกูลเบอรี่ หรืออาหารที่มีแร่ธาตุ เช่น สังกะสี เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น
นอกจากโภชนาการที่ดีแล้ว คุณแม่ควรดูแลให้เด็ก ๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยกระตุ้นพัฒนาการในทุก ๆ ด้านของลูกรัก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่ โภชนาการ อาหารสมอง และการพักผ่อน เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของลูกรัก หรือบำรุงด้วยอาหารเสริมเด็กจาก Promom เพื่อช่วยในการ บำรุงสมองที่ดี
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจาก Promom
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็ก คิดค้นวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเด็กและพัฒนาจากองค์ความรู้ ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักโภชนาการเด็ก
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็ก คิดค้นวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเด็กและพัฒนาจากองค์ความรู้ ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักโภชนาการเด็ก