เราทุกคนต่างทราบกันดีว่า สมอง เปรียบเสมือนศูนย์บัญชากลางของร่างกายที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก การคิด และการตัดสินใจ ตลอดจนเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่คอยบันทึกเรื่องราวที่พบเจอตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต
แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทั้งที่เกิดมาพร้อมสมองที่มีลักษณะภายนอกเหมือน ๆ กัน แต่ทำไมแต่ละคนจึงมีความฉลาดแตกต่างกัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปไขข้องข้องใจว่า สมองมีกี่ส่วน สมองทำหน้าที่อะไร และต้องดูแลสมองแบบไหน ถึงจะช่วยให้ลูกเติบโตเป็นเด็กฉลาด
ทำความรู้จัก “สมอง” ให้มากกว่าที่เคยรู้จัก
สมอง เป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกาย มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมสมองที่มีน้ำหนักประมาณ 300 – 400 กรัม และเมื่อเติบโตเต็มที่ สมองของผู้ใหญ่จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1,200 – 1,400 กรัม หรือคิดเป็น 2% ของน้ำหนักร่างกาย โดย 60% ของสมองประกอบด้วยไขมัน และอีก 40% เป็นน้ำ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเกลือ ภายในสมองที่มีปริมาตร 69 – 70 ลูกบาศก์นิ้วนี้ ยังประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมากกว่าพันล้านเซลล์ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เนื้อสมองยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สี คือ สมองส่วนสีเทา คิดเป็น 40% ของเนื้อเยื่อสมอง ทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาท รับบทบาทแปรผลและประมวลข้อมูลที่ส่งมาจากระบบประสาททั่วทั้งร่างกาย ในขณะที่เนื้อสมองส่วนสีขาว ซึ่งคิดเป็น 60% ของเนื้อเยื่อสมองทั้งหมด ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของเซลล์ประสาทซึ่งมีรูปร่างเป็นเส้นใยที่มีไขมันหุ้มอยู่โดยรอบ
นอกจากนี้ สมองยังแบ่งออกได้เป็น 2 ซีก คือ สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะที่อยู่ทางด้านขวาของร่างกาย และในทางกลับกัน สมองซีกขวา ก็ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนซ้าย แต่แม้ว่าสมองจะแบ่งการควบคุมการเคลื่อนไหวและรับรู้การสัมผัสของอวัยวะต่าง ๆ แบบสลับข้าง แต่สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองไปพร้อม ๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แทบจะตลอดชีวิต
ส่วนประกอบของสมองเด็ก มีอะไรบ้าง หน้าที่ของสมองส่วนต่าง ๆ คืออะไร
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีขนาดและหน้าที่แตกต่างกัน โดยส่วนประกอบของสมอง 3 ส่วน ได้แก่
- ส่วนประกอบของสมองส่วนหน้า เป็นสมองที่อยู่ส่วนหน้าสุด มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 90% ของน้ำหนักสมองทั้งหมด ทำหน้าที่ในการรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ที่ส่งมาจากทั่วร่างกาย โดยสมองส่วนหน้า ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ธาลามัส เป็นศูนย์กลางของสัญญาณประสาท ก่อนที่จะนำสัญญาณเหล่านั้นแยกส่งออกไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเหล่านั้น และ ซีรีบรัม เป็นเปลือกสมองขนาดใหญ่ รับรู้และประมวลผลเกี่ยวกับสติ ความรู้สึกนึกคิด ความจำ และความฉลาด นอกจากนี้ ยังเป็นเหมือนศูนย์ควบคุมการทำงานประสาทรับสัมผัส การรับรส การได้กลิ่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดคุย ซึ่ง สมองส่วนซีรีบรัม ยังสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 4 กลีบ คือ สมองกลีบหน้า สมองกลีบข้าง สมองกลีบขมับ และสมองกลีบท้ายทอย ซึ่งแต่ละส่วนยังทำหน้าที่แยกย่อยออกไปต่าง ๆ กันอีกด้วย
- ส่วนประกอบของสมองส่วนกลาง เป็นสมองที่มีขนาดเล็กที่สุด ทำหน้าที่ควบคุมวงจรการนอนหลับพักผ่อน การปรับอุณหภูมิหนาวร้อนภายในร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความรู้สึกหิวและอิ่ม รวมทั้งยังเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ รวมไปถึงควบคุมการสร้างและหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ จากต่อมใต้สมอง
- ส่วนประกอบของสมองส่วนท้าย หรือ สมองส่วนหลัง เป็นสมองส่วนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด โดยยีนที่ควบคุมการทำงานของสมองส่วนนี้ได้รับการศึกษาและยืนยันแล้วว่ามีมาตั้งแต่ 500 ล้านปีก่อน โดยสมองส่วนนี้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายให้การประสานกันของอวัยวะต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น มีบทบาทต่อการควบคุมการทรงตัว การหายใจ และควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติส่วนต่าง ๆ เป็นต้น
สมองทั้ง 3 ส่วนนี้ จะทำงานประสานกันอย่างมีศักยภาพสูงมากกว่าคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเท่ากันนับล้าน ๆ เท่า โดยสมองจะทำงานประสานกับระบบประสาทที่มีเส้นประสาทเชื่อมโยงกับสมองทั้ง 3 ส่วน จำนวน 12 เส้น ด้วยเหตุที่สมองมีบทบาทและความสำคัญมากที่สุดนี้เอง ภายในสมองจึงประกอบด้วยเส้นเลือดหล่อเลี้ยงจำนวนมากที่ว่ากันว่ามีความยาวรวมกันถึง 645 กิโลเมตร และเลือดที่ไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกายจะถูกดันขึ้นมายังสมองในทุก ๆ 7 วินาที นอกจากนี้ ด้วยความที่สมองไม่เคยหยุดทำงาน จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานlสูงถึง 20% ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งพลังงานชนิดเดียวที่สมองชื่นชอบคือ กลูโคส ซึ่งก็คือน้ำตาลที่ถูกเผาผลาญได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
พัฒนาการสมองของเด็กในแต่ละช่วงวัย
พัฒนาการสมองลูกในแต่ละช่วงวัย จะเริ่มต้นตั้งแต่มีการปฏิสนธิของเซลล์ไข่จากแม่และเสปิร์มจากพ่อ โดยหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 3 สัปดาห์ เซลล์ประสาทเพียงไม่กี่เส้นจะค่อย ๆ พัฒนาเป็น หลอดประสาท ซึ่งอวัยวะส่วนนี้จะพัฒนาไปเป็นสมอง ไขสันหลัง และโครงข่ายเส้นใยประสาทที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งสมองของทารกในช่วง 7 สัปดาห์แรก จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย สมองทั้ง 3 ส่วนนี้จะเติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้นตราบจนถึงวันคลอด
สมองของทารกยังคงเจริญเติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้นภายหลังคลอด ซึ่งสมองของเด็กจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่าของสมองในช่วงแรกเกิดใน 2 ขวบปีแรก โดยในระหว่างที่สมองมีการเจริญเติบโตนี้ เซลล์ประสาทจำนวนมากที่อยู่ภายในสมอง จะมีการเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างรวดเร็วถึง 250,000 นิวรอนในทุก ๆ นาที ในช่วงเวลาสำคัญนี้เอง หากคุณแม่สามารถดูแลเซลล์สมองเป็นพิเศษ ด้วยการกระตุ้นเซลล์สมองส่วนต่าง ๆ ให้มีการเชื่อมโยงเข้าหากันมากเท่าไร ก็จะยิ่งส่งผลให้ลูกรักมีพัฒนาการสมอง การเรียนรู้ และการจดจำที่ดีขึ้นมากเท่านั้น
ในทางกลับกัน หากระหว่างนี้ หรือแม้กระทั่งในช่วงที่เด็กเล็กกำลังเจริญเติบโตขึ้น ผู้ปกครองไม่ได้มีการกระตุ้นพัฒนาการสมองอย่างเหมาะสมเป็นประจำ ก็จะส่งผลให้เครื่องข่ายเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน ค่อย ๆ สลายตัวไป หรืออธิบายง่าย ๆ ได้ว่า สมองหรือทักษะใดที่ไม่ได้ถูกใช้งานเลย จะค่อย ๆ เสื่อมสลายและหายไปในช่วงก่อนย่างเข้าวัยรุ่น ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ประสาทส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ การจดจำ รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ลดลงตั้งแต่วัยเด็ก คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องดูแลสมองและระบบประสาทอย่างเหมาะสมตั้งแต่วันแรกที่ลูกลืมตาดูโลก และดูแลอย่างต่อเนื่องไปจนกระทั่งลูกย่างเข้าสู่วัยรุ่น
อยากให้ลูกฉลาด สมองดี มีพัฒนาการดีเยี่ยม ต้องดูแลสมองและระบบประสาท อย่างไร?
วิธีดูแลสมองและระบบประสาท ในช่วง 2 ปีแรกของชีวิตลูกมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากยีนความฉลาด ซึ่งเป็นต้นทุนสมองที่ถูกถ่ายทอดและส่งต่อผ่านรหัสพันธุกรรมของพ่อและแม่ ที่ทำให้ความฉลาดของมนุษย์เรามีความแตกต่างกันแล้ว ทารกทุกคนมีโอกาสในการพัฒนาความฉลาดได้เท่า ๆ กัน ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กแต่ละคนสามารถพัฒนาความฉลาดได้นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และโภชนาการที่ส่งเสริมการพัฒนาของสมองและระบบประสาทในปริมาณที่เหมาะสมในทุก ๆ ช่วงชีวิตลูก
โดยหัวใจสำคัญของการสร้างความฉลาดให้ลูกรัก คือการดูแลสมองและระบบประสาทอย่างถูกวิธี นอกจากจังหวะที่เหมาะสมในการส่งเสริมพัฒนาการสมองที่ดีที่สุดด้วยการกระตุ้นพัฒนาการด้าน ๆ ต่างในช่วง 2 ปีแรกของลูกรักแล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสมองด้วยอาหารบำรุงสมอง ก็เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษด้วย
อาหารบำรุงสมอง เคล็ดลับสร้างลูกฉลาด สมองดี ทางลัดสู่การประสบความสำเร็จในอนาคต
เนื่องจากสมองต้องทำงานอยู่ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุดพักตราบจนหมดลมหายใจ สมองจึงจำเป็นต้องใช้พลังงานมากถึง 20% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งสารอาหารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาสมอง ประกอบไปด้วย วิตามิน เกลือแร่ กรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 6 ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว สารต้านอนุมูลอิสระ และน้ำ ซึ่งมีอยู่ในอาหารทั่ว ๆ ไปที่สามารถหาทานได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และธัญพืชไม่ขัดสี ตัวอย่างเช่น ปลาทะเลน้ำลึก ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว น้ำมันจากพืช กะหล่ำปลี อะโวคาโด และผลไม้ตระกูลเบอร์รี เป็นต้น
อาหารสมองที่ดีที่สุดสำหรับช่วงแรกในชีวิตของทารกแรกเกิด คือ นมแม่ อุดมด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุมากกว่า 200 ชนิด รวมไปถึงสารตั้งต้นภูมิคุ้มกันสุขภาพ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อาหารสมอง ในรูปแบบของไขมันชั้นเยี่ยม ที่จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นใยประสาท ส่งผลให้การสื่อสารระหว่างเส้นใยประสาทแต่ละแขนงทำได้อย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพสูงสุด เมื่อลูกเติบโตขึ้นจนสามารถรับประทานอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่แล้ว เด็ก ๆ ยังจำเป็นต้องได้รับสารอาหารสมองจากแหล่งอาหารที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปจนโต ซึ่งการเร่งสร้างศักยภาพให้สมองของลูกในช่วงเวลาทองนี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการสมองและพัฒนาการรอบด้าน รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของลูก ช่วยให้ลูกรักสามารถประสบความสำเร็จอย่างมีศักยภาพได้ตามที่ตั้งใจไว้ง่ายขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น
อาหารเสริมพัฒนาสมอง ตัวเลือกดี ๆ ที่คุณแม่ไว้วางใจ
ในปัจจุบัน เด็ก ๆ ยุคใหม่เติบโตขึ้นมาภายใต้กระแสสังคมที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทำให้หลาย ๆ ครอบครัวแทบจะไม่มีเวลาดูแลโภชนาการให้ลูกอย่างเหมาะสม หรือในบางครอบครัวที่มีเวลาคุณภาพในการใส่ใจโภชนาการได้อย่างดีเยี่ยม แต่เด็ก ๆ กลับมีพฤติกรรมเลือกกิน กินยาก ไม่ยอมกินอาหารที่ตนเองไม่ชอบ จนเป็นเหตุให้ได้รับสารอาหารบำรุงสมองไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้วยเหตุนี้ทำให้คุณแม่ยุคใหม่ หันมาเสริมอาหารสมองของลูกด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงสมอง ที่มีส่วนประกอบของ ดีเอชเอ ที่มีทั้งโอเมก้า 3 6 9 ธาตุเหล็ก แร่ธาตุสำคัญที่ช่วยบำรุงหลอดเลือดแดงและมีผลต่อไอคิวให้เด็กก่อนวัยเรียน และโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่คัดสรรมาแล้วว่า มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ สมองส่วนที่ 2 ได้แก่ ลำไส้ ช่วยให้สามารถผลิตสารสื่อประสาทส่งกลับไปยังสมองได้อย่างมีศักยภาพ
นอกจากสารอาหารบำรุงสมองทั้ง 2 ส่วนแล้ว เด็ก ๆ ยังจำเป็นต้องพักผ่อนนอนหลับอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากในขณะที่เด็ก ๆ กำลังหลับสนิทนั้น สมองส่วนความจำ ได้มีการถ่ายเทความจำระยะสั้น ไปสู่สมองที่ทำการแปรผลให้เป็นความจำถาวร ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้ที่ผ่านมาตลอดทั้งวันจะถูกเรียบเรียงใหม่และส่งไปเก็บไว้ในสมองส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส หากเด็ก ๆ นอนหลับได้ดี ก็จะตื่นมาพร้อมสมองที่ปลอดโปร่ง และสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสารอาหารที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดี อย่าง SunTheanine ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพสมองได้อย่างดีเยี่ยม
หากดูแลสมองและระบบประสาทได้ตามนี้ ลูกรักของคุณแม่ก็จะเป็นเด็กที่มีคุณภาพ มีความฉลาด เรียนรู้ได้เต็มที่ จดจำดี และมีสมาธิดี สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ลูกรักสามารถเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้อย่างไร้กรอบจำกัด
บทความที่ควรอ่านต่อ
อยากให้ลูกฉลาด ไอคิวดี ต้องทำอย่างไร มีวิธีไหนช่วยให้ลูกเรียนเก่ง?
อาหารบำรุงสมองเด็ก มีอะไรบ้าง สารอาหารแบบไหนที่เหมาะกับลูกรัก
10 เทคนิค ทำยังไงให้ลูกเรียนเก่ง คำถามยอดฮิตของเหล่าคุณ
-
Nutri Plus 41 | 42 (7 ซอง)
550 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Nutri Plus 41 | 42 (14 ซอง)
1,100 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
DHA Probio 9 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Cal-D-KII 6 Plus (14 ซอง)
1,450 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Muti-IMMU 24 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
Muti-IMMU 24 Plus (14 ซอง)
1,350 บาท เพิ่มลงในตระกร้า -
DHA Probio 9 (14 ซอง)
1,200 บาท เพิ่มลงในตระกร้า
ติดตามและรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โปรโมชันและความรู้ดี ๆ ก่อนใครได้ที่นี่
ติดตาม Promom